กรณีศึกษา: การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและชักในระยะคลอด
บทคัดย่อ
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลทำให้สตรีตั้งครรภ์เกิดภาวะชักถือเป็นอุบัติการณ์ที่มีความสำคัญและรุนแรง เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและการบาดเจ็บทั้งในมารดาและทารกในครรภ์ ถึงแม้สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงบางประการ ที่ส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์มีภาวะความดันโลหิตสูง ได้แก่ อายุ จำนวนครั้งการตั้งครรภ์และการคลอด การตั้งครรภ์แฝด ประวัติบุคคลในครอบครัวมีภาวะความดันโลหิตสูง ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อนมีภาวะความดันโลหิตสูง และอื่น ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ รวมทั้งครอบครัว พยาบาลเป็นบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวให้มีความรู้ มีพฤติกรรมในการดูแลตนเองและทารกในครรภ์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์หรือไม่ ก่อให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นหากมีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่ก่อน ซึ่งแนวทางการดูแลหรือให้การพยาบาลแก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงนั้น จะใช้หลักของกระบวนการพยาบาล (Nursing process) ได้แก่ การ ประเมินผู้ป่วย การวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และการ ประเมินผล รวมทั้งการนำระบบการบริหารความเสี่ยง (Risk management system) มาใช้ในการดูแลผู้ป่วย พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการประเมินปัจจัยเสี่ยง เพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงและนำไปสู่การวินิจฉัยที่ทันท่วงที รวมถึงยังมีบทบาทในการให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์ และลดอาการรุนแรงจากการเกิดภาวะชักด้วย