รูปแบบการพัฒนาอาหารปลอดภัยโรงพยาบาล ในจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ปริญญา กองกาย -

คำสำคัญ:

อาหารปลอดภัย, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและผลของรูปแบบการพัฒนาอาหารปลอดภัยโรงพยาบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ระหว่าง เดือน ตุลาคม 2563 ถึง กันยายน 2564 รวม 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง กับอาหารปลอดภัยโรงพยาบาล ในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 84 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ paired t – test

        ผลการศึกษา พบว่า ความเข้าใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรฐานอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล ก่อนการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังการดำเนินงานโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยที่ก่อนและหลังดำเนินการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( p = .000) โดยที่ หลังการดำเนินงาน มีระดับความเข้าใจมากกว่าก่อนการดำเนินงาน

        ผลการตรวจประเมิน สารตกค้าง ได้แก่ บอแรกซ์ ยาฆ่าแมลง(TM Kit) กรดซาลิซิลิก และ Coliform (SI2) พบว่า ก่อนดำเนินงาน Coliform (SI2) ไม่ผ่าน 10 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5.8 ของการตรวจ Coliform (SI2) ทั้งหมด และ เป็นร้อยละ 4.9 ของการตรวจทั้งหมด หลังดำเนินงานColiform (SI2) ไม่ผ่าน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5.5 ของการตรวจ Coliform (SI2) ทั้งหมด ยาฆ่าแมลง(TM Kit) ไม่ผ่าน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.3  รวมไม่ผ่านทั้งหมด 10 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 4.0 ของการตรวจทั้งหมด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-22