ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของอาการผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 โรงพยาบาลคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุรพล เหล่าอารีย์รัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) รูปแบบการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของอาการผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลคำม่วงทั้งหมดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 จำนวน 441 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก (Logistic Regression)

            ผลการศึกษาพบว่า เพศหญิง, อายุระหว่าง 45-54 ปี, อายุมากกว่า 55 ปี และดัชนีมวลกายระหว่าง 18.5-22.9 Kg/m2 เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของอาการผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดย ผู้ป่วยเพศหญิง อายุระหว่าง 45-54 ปี และดัชนีมวลกายระหว่าง 18.5-22.9 Kg/m2 มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงระดับ 2 ถึงระดับ 3 มากกว่ากลุ่มอื่น 8.875 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (OR=8.875, p-value=.13, 95%CI=1.598-49.297) และ ผู้ป่วยเพศหญิง อายุมากกว่า 55 ปี และดัชนีมวลกายระหว่าง 18.5-22.9 Kg/m2 มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงระดับ 2 ถึงระดับ 3 มากกว่ากลุ่มอื่น 37.474 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (OR=37.474, p-value=.13, 95%CI=1.598-49.297)

คำสำคัญ: ปัจจัย, อาการ, ผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30