การประเมินและพัฒนาประเด็นการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • อนุพันธ์ ประจำ
  • ประวิ อ่ำพันธุ์

คำสำคัญ:

การประเมินและพัฒนา คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเมินผลและพัฒนาประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดศรีสะเกษ

             ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พชอ.จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง อำเภอละ 5 คน รวม 110 คน  แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สำรวจข้อมูลพื้นฐานและประเมินผลประเด็นพัฒนา ระยะที่ 2 พัฒนาประเด็น โดยใช้วงจรขดลวด PAOR และระยะที่ 3 ประเมินผล UCCARE และ CIPP Model การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า

                   ระยะที่ 1  สำรวจข้อมูลพื้นฐานและประเมินผลประเด็นพัฒนา พบว่า พชอ.ส่วนใหญ่เลือกประเด็นพัฒนา 3 อันดับแรก คือ การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และการป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากการจราจร ผลการประเมินตนเองตามแนวทาง UCCARE ส่วนใหญ่ระดับ 3 คือ ดำเนินการอย่างเป็นระบบมีการทบทวนประเมินและปรับปรุงกระบวนการที่สำคัญดำเนินการครอบคลุม และประเมินตามรูปแบบ CIPP Model ส่วนใหญ่ดำเนินการได้ในระดับปานกลางหรือระดับพอใช้

                      ระยะที่ 2 การพัฒนาประเด็นโดยใช้วงจร PAOR  พบว่า มีการวางแผนแบบมีส่วนร่วม การปรับปรุงแผนเพื่อให้กิจกรรมบรรลุตามเป้าหมาย ดำเนินการครอบคลุมตามแผนและกิจกรรมที่วางไว้ บรรลุเป้าหมาย และผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่พึงพอใจโดยรวมระดับดี 

                      ระยะที่ 3 การประเมินผล UCCARE อยู่ในระดับ 4  คือ มีการทบทวนประเมินผลปรับปรุงโดยใช้ข้อมูลจริงและมีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น และประเมินผล CIPP Model อยู่ในระดับดีมาก 

คำสำคัญ : ประเมินและพัฒนา/คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30