ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ สมศรี Suwannakhuha Hospital

คำสำคัญ:

โปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับนักเรียน โดยโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับนักเรียน พัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (2) เนื้อหาครอบคลุมหลักสูตรการสอนเพศศึกษา (family life education ) ได้แก่ พัฒนาการวัยรุ่น การดูแลสุขอนามัยทางเพศ ทัศคติเกี่ยวกับเรื่องเพศ ทักษะเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ผลกระทบการมีเพศสัมพันธ์และเอดส์ การคุมกำเนิด ทักษะการสื่อสารเรื่องเพศกับบิดามารดา โดยจัดกิจกรรมให้กลุ่มทดลอง 3 ครั้ง ครั้งละ 120 นาที ต่อสัปดาห์ผ่านการบรรยาย แสดงความคิดเห็นบทบาทสมมุติ และทดลองฝึกปฏิบัติ ระยะเวลาในการศึกษา รวม 5 สัปดาห์ ในระหว่าง เดือน สิงหาคม ถึง เดือน กันยายน 2563 รวม 3 เดือน

            ผลการวิจัย พบว่า (1) ก่อน-หลังใช้โปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ของกลุ่มทดลอง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.001) โดยภายหลังใช้โปรแกรม มีการป้องกันการตั้งครรภ์ มากกว่าก่อนใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.0 (2) ก่อน-หลังใช้โปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ของกลุ่มควบคุม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.05) โดยภายหลังใช้โปรแกรม มีการป้องกันการตั้งครรภ์ มากกว่าก่อนใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.50 และ (3) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการป้องกันการตั้งครรภ์ ระหว่างกลุ่มทดลอง-กลุ่มควบคุม หลังการใช้โปรแกรม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.001) โดยภายหลังใช้โปรแกรมของกลุ่มทดลอง มีการป้องกันการตั้งครรภ์มากกว่ากลุ่มควบคุม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.40

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30