การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการส่องกล้องตรวจรักษาทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Cholangiocarcinoma c Endoscopic retrograde cholangio pancreatography of the biliary duct :ERCP) พ.ศ.2565 :กรณีศึกษา 2 รายเปรียบเทียบกัน

ผู้แต่ง

  • กนกอร ตางจงราช

คำสำคัญ:

มะเร็งท่อน้ำดี, การส่องกล้องตรวจรักษาทางเดินน้ำดีและตับอ่อน, แบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน, ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา การส่องกล้องตรวจรักษาทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic retrograde cholangio pancreatography of the biliary duct :ERCP) เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปทางปากผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็ก แล้วฉีดสารทึบแสงและถ่ายภาพเอกซเรย์ไว้ (ใช้เวลาในการตรวจรักษาประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อราย) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนและรักษาการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับอ่อนโดยใส่ท่อระบายน้ำดีคาไว้

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการส่องกล้องตรวจรักษาทางเดินน้ำดีและตับอ่อน

วิธีดำเนินงาน  ศึกษาผู้ป่วย 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมแพ โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของ  กอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล

ผลการศึกษา เปรียบเทียบกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย กรณีศึกษาที่ 1 ชายไทย อายุ 72 ปี 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล ปวดจุกแน่นท้องมาก ตัว ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้มมาก มีไข้ แพทย์ให้การวินิจฉัย Liver mass c CHCA กรณีศึกษาที่ 2 หญิงไทย อายุ 83 ปี 1 วันก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยปวดจุกแน่นท้องมาก ตัว ตาเหลืองแพทย์ให้การวินิจฉัย Cholangitis R/O CHCA หลัง CT แพทย์วินิจฉัยเป็น CHCA ทั้ง 2 ราย ได้รับการส่องกล้องตรวจรักษาทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) ทั้ง 2 รายพบข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลจำนวน 9 ข้อเท่ากัน แต่มีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่แตกต่างคือ ระยะก่อนผ่าตัด กรณีศึกษารายที่ 2 มีมากกว่า 1  ข้อ  และระยะหลังผ่าตัด กรณีศึกษารายที่ 1 มีมากกว่า 1 ข้อ ปัญหาข้อที่ 6(รายที่1),7,8(ทั้ง 2 ราย) แก้ปัญหาได้สิ้นสุด ส่วนปัญหาข้ออื่น ๆผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาจนอาการทุเลา แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แต่ได้นัดติดตามผลการรักษา อีก 1 สัปดาห์ ในผู้ป่วยรายที่ 1 และนัด 2 สัปดาห์ในผู้ป่วยรายที่ 2 ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษา พยาบาลจนอาการทุเลา แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ นัดติดตามผลการรักษา ได้ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัด พบว่าผู้ป่วยดูสดชื่นขึ้น ปฏิบัติตามคำแนะนำได้ดีผู้ดูแลให้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยได้ดี

สรุป: กรณีศึกษานี้ทำให้เห็นกระบวนการการดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการส่องกล้องตรวจรักษาทางเดินน้ำดีและตับอ่อนตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัดตามมาตรฐานอย่างใกล้ชิดของพยาบาลห้องผ่าตัด ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตในครอบครัว สังคมได้ตามอัตถภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30