ประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในจังหวัดกระบี่
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross- sectional descriptive research) โดยดำเนินการวิจัยระหว่าง กันยายน 2565 - มีนาคม 2566 เพื่อศึกษาการดำเนินงานกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในจังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการกองทุนตำบลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนตำบล) จังหวัดกระบี่ จำนวน 316 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในจังหวัดกระบี่ ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในจังหวัดกระบี่ ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.65, S.D. = 0.68) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านโครงสร้างคณะกรรมการ ( = 3.96, S.D. = 0.83) อยู่ในระดับสูง รองลงมาคือ ด้านการจัดทำรายงาน ( = 3.76, S.D. = 0.76) ด้านการกำกับติดตามประเมินผล ( = 3.66, S.D. = 0.74) ด้านการดำเนินงานของคณะกรรมการ ( = 3.62, S.D. = 0.73) ด้านความรู้ความสามารถของคณะกรรมการ ( = 3.48, S.D. = 0.72) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ( = 3.41, S.D. = 0.78) อยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในจังหวัดกระบี่ พบว่า การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในจังหวัดกระบี่ (r=.889) มีขนาดความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง