การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ด้วยกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เกษมสุข กันชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวังและการจัดการโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research ) โดยใช้วงจร PAOR มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการเฝ้าระวังและการจัดการโรคโควิด-19 อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ   ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มขับเคลื่อนเพื่อสร้างรูปแบบการเฝ้าระวังและการจัดการโรคโควิด-19 จำนวน 50 คน และกลุ่มประเมินผลลัพธ์ คือ ประชากรที่มีความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 จำนวน 380 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ก่อนและหลังการดำเนินงาน ใช้สถิติ Pair t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05

              ผลการวิจัย รูปแบบการเฝ้าระวังและการจัดการโรคโควิด-19 อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ  :  P CAN  ID Model ประกอบด้วย 1. การมีส่วนร่วมขององค์กร หน่วยงาน และภาคีที่เกี่ยวข้อง (P: Participation) 2. การจัดวงปรึกษาหารือในการจัดการโรค โควิด-19 Mini EOC ระดับอำเภอ (C: COVID-19) 3. การจัดการข้อมูลการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (D: Data Management) 4. การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันโรค โควิด-19 (N: Network) 5. การพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคในระดับอำเภอ/ตำบล (I: Investigation) 6. การสร้างการรับรู้การป้องกันโรค โควิด-19  (A: Awareness)  ส่งผลให้พฤติกรรมการป้องกันโรคของประชาชนอยู่ในระดับสูง โดยก่อนดำเนินงาน พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง จำนวน 323 คน ร้อยละ 85 หลังดำเนินงาน พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง จำนวน 374 คน ร้อยละ 98.42 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.42 และแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยหลังดำเนินงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนดำเนินงาน เท่ากับ 0.28

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30