ผลลัพธ์การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในวิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • จีรศักดิ์ คามจังหาร

คำสำคัญ:

การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, วิถีใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยดำเนินการ (implementation research) ครั้งนี้เป็นการนำนโยบายสุขภาพสู่การปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยและศึกษาผลลัพธ์การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในช่วงการระบาดของโรค-19 มีขั้นตอนการศึกษาวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาบริบท สภาพปัญหาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและช่วงการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ระยะที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติการ ภายใต้ชื่อ “New Normal Medical Service : คลินิกรักษ์ปอด” และนำสู่การปฏิบัติ และระยะที่ 3 ประเมินผลการดำเนินงาน ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาช่วงเดือนตุลาคม 2563 – มกราคม 2564 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มพยาบาล ได้แก่ที่ให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกปอดอุดกั้นเรื้อรังในช่วงที่ดำเนินการศึกษา จวนทั้งสิ้น 168 คน เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อความและแบบประเมินผล

            ผลการศึกษาพบว่า ในระยะที่ 1 พบว่าจำนวนผู้ป่วยมาก และในช่วงการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2519 มีจำนวนผู้ป่วยขาดนัดเพิ่มมากขึ้น คิดเป็น 4 เท่าของช่วงก่อนการระบาดของโรค ระยะที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติการให้บริการผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในช่วงวิถีใหม่ ที่มีการนำแนวปฏิบัติแบบครบวงจร ภายใต้รูปแบบ COPD Clinic Model และ Pulmonary Rehabilitation Model โดยการจัดระบบการดูแลแบบสั้นแต่มีคุณภาพเน้นการเข้าถึงคลินิกอย่างง่าย (accesses) มีคุณภาพ (Quality) มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และลดระยะเวลารอคอย (Seamless) มีการส่งต่อการดูแลที่มีประสิทธิภาพ จัดส่งยาทางไปรษณีย์ที่สะดวกรวดเร็วและลดขั้นตอนการบริการในโรงพยาบาล และระยะที่ 3 การประเมินผลการนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น พบว่า ค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาอยู่ในระดับดี พยาบาลที่ให้บริการผู้ป่วยมีระดับความรู้และทักษะสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (P<.001) พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นมากกว่าร้อยละ 94

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30