การพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่มีภาวะสายตาเลือนรางด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ชนากานต์ อนันตริยกุล

คำสำคัญ:

โรคต้อกระจก, กรณีศึกษา, การพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยต้อกระจก โดยศึกษาจากกรณีศึกษาตามสภาพชีวิตจริงของผู้ป่วย 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นเวชระเบียนผู้ป่วยใน ประเด็นการเปรียบเทียบได้แก่ ชีวิตตามสภาพจริง การพยาบาล ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ภาวะแทรกซ้อน ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา ผลการศึกษาพบว่า

กรณีศึกษาที่ 1 ได้รับการวินิจฉัยเป็นต้อกระจกทั้ง 2 ข้าง ข้างขวาทำผ่าตัดมาแล้ว 2 ปี ที่โรงพยาบาลเลาขวัญ โดยทีมแพทย์โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาไปทำผ่าตัดให้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ครั้งนี้ผู้ป่วยมาทำผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมข้างซ้าย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ตา 2 ข้างการมองเห็นชัดเจนดี เหตุผลที่ไม่มารับการรักษาด้วยการผ่าตัดตาข้างซ้ายเร็วกว่านี้ เนื่องจากติดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด - 19ศึกษาชีวิตของผู้รับบริการ ผู้ป่วยต้องไปทำงาน มีอาชีพทำไร่ กลัวว่าจะไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม    เยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องทำงานเลี้ยงตัวเอง ครอบครัว และไม่ต้องการเป็นภาระของบุตร

กรณีศึกษาที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยเป็น ต้อกระจกข้างซ้าย ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม มีภาวะแทรกซ้อน เลนส์ตาบวม ตาขวามองไม่ค่อยเห็น ผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียมมาแล้ว 2 เดือน (CF 2 ฟุต) ครั้งนี้พักรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 4 วัน ศึกษา ชีวิตของผู้รับบริการตามสภาพจริง คำแนะนำก่อนกลับบ้าน ต้องให้คำแนะนำให้กับผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโดยตรง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้อง

ดังนั้นพยาบาลควรเน้นการให้คำแนะนำ/สุขศึกษา ไม่เน้นรูปแบบที่ทุกคนจะต้องได้เหมือนกัน เป็น การให้คำแนะนำตามสภาพจริงของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาและข้อจำกัดของผู้รับบริการ แต่ละราย เพื่อให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้อย่างเหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13