ความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิโลม่าของสตรี ในพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ มละสาร

คำสำคัญ:

ความชุก, การกระจายตัว, การติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิโลม่า, การตรวจ HPV DNA test

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นเชิงพรรณนา (Descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อ HPV และปัจจัยเสี่ยงต่อการ ติดเชื้อ HPV ของสตรีในพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ศึกษาในกลุ่มสตรีอายุระหว่าง 30-60 ปี ในพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็ง ปากมดลูกด้วย วิธี HPV DNA test ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 1,569 คน โดยศึกษาข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบ HPV Screening ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ  

        ผลการศึกษา : ความชุกของการติดเชื้อ HPV ของสตรีในพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ คิดเป็นร้อยละ 4.08 พื้นที่ที่มีความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อ HPV มากที่สุด คือ รพ.สต.บ้านข้าวหลาม ร้อยละ 8.62 รองลงมา คือ รพ.กมลาไสย และรพ.สต.บ้านบึง ร้อยละ 6.62 และ 6.25 ตามลำดับ สายพันธุ์ที่มีการติดเชื้อสูงสุด คือ สายพันธุ์ non 16, 18 ร้อยละ 3.19 รองลงมาคือ HPV สายพันธุ์ 16 และ HPV สายพันธุ์ 18 ร้อยละ 0.70 และ 0.19 ตามลำดับ กลุ่มอายุ 30-40 ปี มีความชุกของการติดเชื้อ HPV สูงสุด ร้อยละ 8.65 ความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกมากที่สุดคือ HSIL (CIN III) ร้อยละ 50 ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV คือ อายุ โดยมีค่า Adjusted OR 2.26 หมายความว่า ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีมีโอกาสในการติดเชื้อ HPV มากกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 ปี ประมาณ 2 เท่า       

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13