การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน สำหรับภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน ตำบลบางปะกง

ผู้แต่ง

  • กนกศรี จาดเงิน
  • เกศิริน เชื้อภักดี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน, ภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน   สำหรับภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน  ตำบลบางปะกง   กลุ่มตัวอย่างในการสนทนากลุ่ม  ได้แก่ภาคีเครือข่ายในชุมชนตำบลบางปะกง  จำนวน   30 คน  กลุ่มตัวอย่างในการทดลองรูปแบบ ฯ ได้แก่ ผู้ป่วยจิตเวชอาการกำเริบซ้ำภายใน  3  เดือน  จํานวน 17 คน  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้  ทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.80 และ 0.82  ตามลำดับ  แบบประเมินอาการทางจิต ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.84 แบบวัดการรับรู้ความเครียด ค่าความเชื่อมั่นที่  0.80 และแบบประเมินความพึงพอใจและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้  ค่าความเชื่อมั่นที่ 1.00  เปรียบเทียบผลลัพธ์ ด้านต่างๆ  ด้วยสถิติร้อยละ  ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test for dependent samples)

ผลการวิจัยพบว่า  รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย  6  องค์ประกอบ  ค่าดัชนีความสอดคล้อง   เท่ากับ 0.97 ภายหลังการนำรูปแบบ ฯ ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้หลังการอบรมเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อาสาสมัครสาธารณสุขมีคะแนนทักษะการประเมินผู้ป่วยผ่านเกณฑ์ร้อยละ  80  ทุกคน  ผู้ป่วยมีอาการทางจิตและความเครียดหลังเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับต่ำและอัตราลดลงของอาการกำเริบซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตเวชมีเพิ่มสูงขึ้น  คิดเป็นร้อยละ  94.33  และสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  ที่ร้อยละ  80 จากผลการศึกษารูปแบบ ฯ ดังกล่าว ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคจิตเวช ลดอาการกําเริบที่รุนแรง  ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบฯ อยู่ในมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53, 0.51 (,SD.) ดังนั้น ผลการวิจัยนี้สามารถนําไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคจิตเวชในชุมชนอื่น ๆ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13