รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยการจัดการรายกรณี และการมีส่วนร่วมของสหสาขาวิชาชีพ เครือข่ายสุขภาพ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สารสิน กิตติโพวานนท์
  • รัตนาภรณ์ ประชากูล

คำสำคัญ:

การดูแล, ระยะท้าย, สหวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)นี้  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยการจัดการรายกรณี และการมีส่วนร่วมของสหสาขาวิชาชีพ เครือข่ายสุขภาพอำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น ระยะเวลาวิจัย เดือน ตุลาคม 2562 – กันยายน 2564 ดำเนินการพัฒนารูปแบบร่วมกับทีมสหวิชาชีพในรพ. และรพ.สต. ผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัว ผู้ดูแล ,อสม. ผู้นำชุมชน ,อปท. ประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย จำนวน 148 ราย เครื่องมือวิจัย  ได้แก่ แบบสัมภาษณ์/สนทนากลุ่ม แบบประเมิน INHOME-SSS แบบประเมินPPS แบบประเมิน ESAS แบบสังเกต วิเคราะห์มูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณโดยจำนวน ค่าเฉลี่ยและร้อยละ

ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายโดยการจัดการรายกรณี และการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ เครือข่ายสุขภาพ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น ที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ ประกอบด้วย 1) พัฒนาด้านศักยภาพการดูแลและองค์ความรู้ของทีมแพทย์ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี รวมถึงทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและภาคีเครือข่ายชุมชน  2) มีแนวทางปฏิบัติ (CPG)ในรพ.จนถึงชุมชนพร้อมกำหนดบทบาทที่ชัดเจนในแต่ละวิชาชีพ 3) จัดระบบสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอ ได้แก่ เตียง ที่นอนลม  เครื่องผลิตออกซิเจน  4) จัดระบบให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมงโดย แพทย์และพยาบาล Manager ประเมินผล พบว่า  เกิดภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์จากชุมชนในการดูแลผู้ป่วย พบว่า  ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย ปี 2562-2564 ผู้ป่วยได้รับการทำ ACP ร้อยละ 9.38,90.35,95.20 ได้รับการบรรเทาปวดด้วย MO ร้อยละ 91.22,100,100 มีความปวดลดลง ร้อยละ 75.47, 82.56, 80.20  มีอาการเหนื่อยล้าลดลงร้อยละ 68.75,78.57, 83.33  มีอาการหายใจลำบาก  ภาวะหายใจลำบากลดลงร้อยละ  76.36, 80.26, 82.10และผลลัพธ์ตามเกณฑ์การพยาบาลพบว่า ผู้ป่วย PPS<60 เข้าสู่กระบวนการพยาบาลแบบประคับประคองร้อยละ 94.56, 98.80 ,100  ได้รับการเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 100, 100, 100

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13