การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ของผู้สูงอายุ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นพพร การถัก -

คำสำคัญ:

Health literacy, Universal Prevention Behaviors, Elderly

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลของผู้สูงอายุ จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 265 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling technique) จำนวน 265 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ แจกแจงความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมามาตรฐาน (standard deviation) สัดส่วนออดส์ปรับค่า (Adjusted OR) โดยการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกพหุคูณ (Multinomial logistic regression analysis) กำหนดค่าความเชื่อมั่น95% (p-value<0.5)

        ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 61.8 การเข้าถึง การเข้าใจ ซักถาม ตัดสินใจ ปฏิบัติและบอกต่อ อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งในด้านการปฏิบัติ มีค่าคะแนน มากกว่า ด้านอื่นๆ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.3 ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็มร้อยละ 81 กลุ่มตัวอย่างเพศหญิง มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล มากกว่าเพศชาย 3.67 เท่า (ORadj=3.67,95%CI=.47-28.61) กลุ่มตัวอย่าง ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีโอกาสที่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล มากกว่าผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ 4.31 เท่า (ORadj 4.31=-36-4. ,95% CI=.36-4.90 ) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี มีโอกาสมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลมากกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 65ปี 2.42 เท่า (ORadj=2.04,95%CI=4.97-8.43)กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้เพียงพอมีโอกาสที่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลมากกว่าผู้ที่มีรายได้ขัดสน .79เท่า (ORadj=.79 , 95%CI=.17-3.68) กลุ่มตัวอย่างที่มีสมาชิกในครอบครัวมากกว่า3คน มีโอกาสมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลมากกว่า ผู้ที่อยู่คนเดียว1.93 เท่า (ORadj=1.93 , 95% CI=.23-16.18) กลุ่มตัวอย่างที่มีความสามารถในการอ่านได้คล่องมีโอกาสที่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล มากกว่ากลุ่มที่อ่านไม่ได้ หรืออ่านไม่คล่อง 3.24 เท่า(ORadj3.24 , 95% CI=.35-4.58) กลุ่มตัวอย่างที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารในช่องทางบุคคล มีโอกาสที่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีช่องทางเข้าถึงข้อมูล 2.25 เท่า (ORadj=2.25 , 95% CI=.47-10.84) กลุ่มตัวอย่างที่มีผู้ดูแลในครอบครัวมีโอกาสที่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล มากกว่าผู้ที่ไม่มีผู้ดูแล 2.47 เท่า (ORadj=2.47 , 95% CI=.65-9.38) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้ม มีโอกาสที่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลมากกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม 0.75 เท่า (ORadj=.75, 95% CI=.08-5.24)

        ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลในกลุ่มผู้สูงอายุ มีความสำคัญต่อการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ควรมีการกำหนดวิธีการ ข้อมูล และช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับปัจจัยส่วนบุคคล รวมทั้งบริบททางสังคม วัฒนธรรม นอกจากนี้ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุมีความสำคัญอย่างยิ่งในการฝ้าระวังการได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องจากช่องทางการสื่อสารที่ผู้สูงอายุได้รับ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้องต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13