ปัจจัยที่ทำให้อาการชาด้านข้างหัวเข่าดีขึ้น ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty) ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • เศกสิทธิ์ เสงี่ยมศักดิ์

คำสำคัญ:

ภาวะข้อเข่าเสื่อม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบมาตรฐานดั้งเดิม, ภาวะชาด้านข้างหัวเข่าภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้อาการชาด้านข้างหัวเข่าดีขึ้นภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลสมุทรปราการระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

        รูปแบบและวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ  case-control study โดยมี อัตราส่วนกลุ่มศึกษาต่อกลุ่มควบคุมเท่ากับ 1: 2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square หรือ Fisher’s exact test (ในกรณีที่มีค่า Expected value น้อยกว่า 5 เกินร้อยละ 20.0 ) ที่ช่วงความเชื่อมัน 95% (95%CI) และระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

       ผลการศึกษา: ปัจจัยความสัมพันธ์ของตัวแปรเดี่ยว (Univariate analysis) ที่มีผลต่ออาการชาด้านข้างภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมผู้ดูแลในระยะหลังผ่าตัดดีขึ้นพบว่า สมาชิกในครอบครัว ทำให้อาการชาด้านข้างหัวเข่าดีขึ้น 0.23 เท่า (95%CI 0.09-0.62) P-value 0.003 และปัจจัยความสัมพันธ์ตัวแปรแบบพหุลอจิสติก (Multivariate analysis) ที่มีผลกับการชาด้านข้างหัวเข่าภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม พบว่า จำนวนวันนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 11 วันขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชาด้านข้างหัวเข่าภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 8.31 เท่า (95%CI3.07-22.46)  ระยะ 6 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน หลังผ่าตัด ไม่สามารถเดินโดยไม่ต้องใช้ไม้เท้าได้ ในระยะประมาณ 200 เมตร โดยที่ไม่ปวด ช่วยเหลือตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพิงคนอื่น 15.55 เท่า (95%CI 2.38-101.25) P-value 0.004  ระยะหลัง 3 เดือน ไม่เคลื่อนไหวเข่าข้างผ่าตัดโดยการงอและเหยียดเข่าบ่อยๆ 5.88 เท่า (95%CI 1.28-26.90) P-value 0.022  ห้องนอนอยู่ชั้น 2 ของบ้าน 65.45 เท่า (95%CI 1.29-3319.03) P-value 0.037

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13