อัตราการเกิดแผลติดเชื้อหลังจากเย็บปิดแผลผ่าตัดทันทีของการผ่าตัดโรคไส้ติ่งแตก ในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พรหมพิรุณ วัฒนวิกกิจ

คำสำคัญ:

ไส้ติ่งอักเสบ, การผ่าตัดแบบเปิด, ผู้ใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังรูปแบบ Retrospective study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดแผลติดเชื้อหลังจากเย็บปิดแผลผ่าตัด และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อหลังเย็บปิดบาดแผลผ่าตัดโรคไส้ติ่งแตก ในกลุ่มผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 100 ราย ในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2559 - มิถุนายน 2562

                   ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.00 อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 32.00 พบอุบัติการณ์การติดเชื้อหลังผ่าตัดไส้ติ่งแตกแบบเปิด ร้อยละ 12.00 โดยในกลุ่มที่เย็บปิดแผลทันทีหลังผ่าตัดแบบเปิดมีอุบัติการณ์ติดเชื้อ ร้อยละ 10.71 และไม่เย็บปิดแผลทันทีพบอุบัติการณ์ ร้อยละ 13.64 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อหลังเย็บปิดบาดแผล พบว่า สภาวะร่างกายผู้ป่วย (ASA classification) Class 3-4 ส่งผลต่อการติดเชื้อหลังเย็บปิดบาดแผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 9.11; 95%CI: 1.06-109.12)

            ดังนั้น การเย็บปิดบาดแผลทันทีหลังผ่าตัดไส้ติ่งแตกแบบเปิดเป็นวิธีที่เหมาะสมและลดอุบัติการณ์การติดเชื้อ ซึ่งจะนำไปสู่การลดระยะเวลาในการฟื้นตัวได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13