ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุขของสถานบริการ สาธารณสุขเครือข่ายโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ปัจจัย, พฤติกรรม, การป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019, บุคลากรสาธารณสุข, เครือข่ายโรงพยาบาลขอนแก่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Analytical Descriptive research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุขเครือข่ายโรงพยาบาลขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 133 คน โดยการสุ่มแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน กำหนดค่าช่วงเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และ ตำแหน่งงาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<0.05) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 โดยการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) พบว่า แรงสนับสนุนทางสังคม ความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และระยะเวลาการปฏิบัติงาน สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) สามารถอธิบายการผันแปรพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ได้ร้อยละ 9.8 (R2 =0.098) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ Y = 31.50 + 0.20 + 0.33 + 0.06 ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้เกิดการจัดบรรยากาศความปลอดภัยจากการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มมากขึ้นและเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ให้เป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยตามหลัก 2P-safety ตลอดจนการสื่อสารเรื่องแนวทางการปฏิบัติตนผ่านตามช่องทางสื่อต่าง ๆ อย่างทั่วถึง เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับมีความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย