ผลกระทบระยะยาวของ COVID-19 ภายหลังการรักษาในโรงพยาบาล ในจังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ลองโควิด, กลไกการเกิดโรค, โรคโควิดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Survey research by Cross-sectional study) นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบระยะยาวของ COVID-19 ภายหลังการรักษาในโรงพยาบาลและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อเกิดภาวะ Long COVID ของผู้ป่วย COVID-19 ภายหลังการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสงขลา จำนวน 381 ราย ในช่วง 1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบระยะยาวของ COVID-19 ภายหลังการรักษาในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี และมีค่าเฉลี่ยอายุ 39 ปี กลุ่มอาการที่พบได้หลัก ๆ 6 กลุ่มอาการตามลำดับ ดังนี้ 1). ระบบผิวหนังและเส้นผม 2). ระบบทางเดินหายใจ 3). อาการทั่วไปของร่ายกาย 4). ระบบ
ประสาท 5). ระบบหัวใจและหลอดเลือด และ 6). ระบบสุขภาพจิต และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทาให้เกิดภาวะลองโควิด (Long COVID) ภายหลังรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และการออกกาลังกาย