การเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาเคตามีนขนาดต่ำและยาเพทิดีน ในการป้องกันภาวะอาการหนาวสั่น ในผู้ป่วยที่เข้ารับการระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง

ผู้แต่ง

  • อิศรพงศ์ คชหิรัญ Anesthesia department, Banphai pospital, Khonkaen Thailand
  • อรอนงค์ เทพรังศิริกุล

คำสำคัญ:

เคตามีน, เพทิดีน, ภาวะอาการหนาวสั่น, การระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาเคตามีนขนาดต่ำและยาเพทิดีน  ในการป้องกันภาวะอาการหนาวสั่น  ที่เกิดหลังการระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาแบบสุ่ม  มีกลุ่มควบคุมและมีการปกปิด 2 ฝ่าย  ศึกษาในผู้ป่วยที่จะมารับการระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังจำนวน 66 คน  แบ่งเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่ม  กลุ่มละ 33 คน  กลุ่ม A จะได้รับยาเพทิดีน 0.4 มก./กก. และกลุ่ม B จะได้รับยาเคตามีน 0.25 มก./กก.  โดยผสมยากับน้ำเกลือให้ได้ปริมาณ 3 มล. ก่อนให้ทางหลอดเลือดดำ  ในเวลา 20 นาทีก่อนผ่าตัดเสร็จ  การประเมินอาการหนาวสั่นจะทำที่ห้องพักฟื้น ณ อุณหภูมิห้อง  โดยใช้ Crossley and Mahajan scale ที่เวลา 0, 10, 20 และ 30 นาที หลังจากการผ่าตัด

     ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอุบัติการณ์การเกิดอาการหนาวสั่นระหว่างกลุ่มที่ให้ยาเคตามีนขนาดต่ำและยาเพทิดีน ที่เวลา 0 นาที คือ 9.1% versus 18.2%(OR = 0.45, 95%CI: 0.10-1.98, p-value = 0.290), 10 นาที คือ 6.1% versus 18.2%(OR = 0.29, 95%CI: 0.05-1.56, p-value = 0.149), 20 นาที คือ 6.1% versus 12.1%(OR = 0.47, 95%CI: 0.08-2.75, p-value = 0.400) และ 30 นาที คือ 3% versus 3%(OR = 1.00, 95%CI: 0.06-16.69, p-value = 1.000) และพบผลข้างเคียงของการให้ยาเคตามีนขนาดต่ำและยาเพทิดีน ร้อยละ 12.1 versus 6.1 (p-value = 0.672)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31