การศึกษาภาพรังสีทรวงอก การดำเนินโรคและปัจจัยแสดงความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ในช่วง 1 พฤษภาคม พ.ศ.2564 - 15 กรกฎาคม พ.ศ.2564

ผู้แต่ง

  • พญ.ปวีณา พันตัน

คำสำคัญ:

ภาพรังสีทรวงอก, ผู้ป่วยโควิด-19

บทคัดย่อ

     โรคโควิด-19  เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ จึงต้องวินิจฉัยภาพทางรังสีจาก chest radiography (chest x-ray)  ปัจจุบันยังไม่ได้มีความจำเพาะของภาพทางรังสี สำหรับโรคปอดอักเสบจากโควิด-194การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะภาพรังสีทรวงอก (chest x-ray)  ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2564 - 15 กรกฎาคม พ.ศ.2564 เพื่อใช้ภาพรังสีทรวงอกในการวินิจฉัย ติดตามการดำเนินโรคความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยโควิด-19  และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของภาพถ่ายรังสีทรวงอกของผู้ป่วยกับข้อมูลพื้นฐานและอาการแสดงทางคลินิกของผู้ป่วยโควิด-19 รูปแบบการศึกษา Cross-sectional study สถิติพรรณนานำเสนอโดยค่าเฉลี่ย และ ร้อยละ สถิติเชิงวิเคราะห์ ใช้ multiple logistic regression เสนอโดย ค่า ORadj 95%CI ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

     ผลการศึกษา ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19  จำนวน 205 ราย (หญิง 110 ราย ร้อยละ 53.7 ชาย 95 ราย ร้อยละ 46.3) อายุระหว่าง 18-69 ปี (ค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 40 ปี)  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง (คิดเป็นร้อยละ 56.6) รองลงมาคืออาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 25.4 โดยส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัวร่วม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77.1 มีโรคเบาหวานร่วมร้อยละ 10.7 อาการที่พบได้มากที่สุด คืออาการไอ ร้อยละ 53.7 และ ไข้ ร้อยละ 51.7 มีความผิดปกติของภาพรังสีทรวงอก 147 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 205 ราย (ร้อยละ 71.7) จำนวนภาพรังสีทรวงอกที่ผิดปกติ 439 ภาพ จากทั้งหมด 696 ภาพ (ร้อยละ 63) ความผิดปกติที่พบมากที่สุดคือความผิดปกติแบบฝ้าขาว ground glass opacities มากที่สุด โดยเริ่มที่ปอดส่วนรอบนอก peripheral และด้านล่างของปอดทั้งสองข้างก่อน จากนั้นมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นโดยจะกระจายตัวไปทั่วๆปอดส่วนกลางและด้านล่าง โดยมีระดับความรุนแรงมากขึ้น และพบความผิดปกติแบบ consolidationร่วมด้วย ในช่วงที่มีการติดตามภาพรังสีทรวงอก 1-4 วันและ5-9วัน จากนั้นในช่วงที่มีการติดตามภาพรังสีทรวงอกช่วงวันที่10-14ยังพบ ground glass opacities หลงเหลือแต่ความรุนแรงลดลงและพบว่าเริ่มมี reticulation มาแทนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงมากกว่าวันที่ 10ซึ่งแสดงถึงการเริ่มฟื้นฟูของโรค  ในการศึกษาครั้งนี้พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และเสียชีวิตสัมพันธ์กับการพบความผิดปกติภาพรังสีทรวงอกแรกรับแบบหนาทึบที่ถุงลมปอด (consolidation) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj= 18.64,95%CI: 1.9274 – 180.356, p= 0.01)  และการศึกษานี้ยังพบว่าปัจจัยเรื่องอายุสัมพันธ์กับความผิดปกติของภาพรังสีทรวงอกโดยเมื่ออายุเพิ่มขึ้น 1 ปี จะมีโอกาสพบความผิดปกติของภาพรังสีทรวงอก1.10 เท่า (95% CI: 1.06 – 1.14, p-value < 0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31