การพยาบาลผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย

ผู้แต่ง

  • สิดากร เพชรวรา

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคอ้วน, ค่าดัชนีมวลกาย, Ramp Position

บทคัดย่อ

     ผู้ป่วยโรคอ้วนเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีไขมันสะสมในร่างกายมากกว่าปกติ มีผลเสียต่อสุขภาพคุณภาพชีวิตในหลายด้าน เพิ่มความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นและเมื่อต้องได้รับการผ่าตัด การให้ยาระงับความรู้สึกเป็นการเพิ่มโอกาสที่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวการณ์ใส่ท่อช่วยหายใจยาก ภาวะขาดออกซิเจน ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้นอาจทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเพิ่มขึ้น หรือต้องนอนโรงพยาบาลนานมากขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ การศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลในระยะต่างๆของการให้ยาระงับความรู้สึก ระหว่างผู้ป่วยโรคอ้วน 2 รายที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 35.0-39.9 จัดเป็นโรคอ้วนระดับ 2 และมีโรคประจำตัวทั้ง 2 ราย

     ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 เป็นผู้ป่วยชายมาด้วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ต้องได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง และมีโรคประจำตัวคือหอบหืด มีค่าดัชนีมวลกาย 38.38 กิโลกรัม/เมตร2 ประเมินความยากในการใส่ท่อช่วยหายใจระดับ 2 จัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดท่านอนหัวสูงไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษสามารถใส่ท่อช่วยหายใจได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน และหลังผ่าตัดพบว่ามีปัญหาปวดแผล และผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2 เป็นผู้ป่วยชายนิ้วหัวแม่มือด้านขวาหักแบบปิดต้องได้รับการผ่าตัดเย็บแผลและยิงเหล็กยึดกระดูก ตรวจพบความดันโลหิตสูงยังไม่ได้รับการรักษา และมีค่าดัชนีมวลกาย 39.51 กิโลกรัม/เมตร2 จากการตรวจประเมินร่างกายพบว่ามีภาวะการใส่ท่อช่วยหายยากต้องทำการเตรียมอุปกรณ์พิเศษในการใส่ท่อช่วยหายใจ อีกทั้งค่าออกซิเจนในเลือด 94 % ซึ่งถือได้ว่าผู้ป่วยรายนี้มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนได้มากกว่าผู้ป่วยรายที่ 1 จึงต้องอาศัยประสบการณ์ของบุคลากรที่มีความชำนาญในการใส่ท่อช่วยหายใจและอุปกรณ์พิเศษ Video Laryngoscope with Stylet พร้อมทั้งจัดท่า Ramp Position เพื่อลดโอกาสการขาดออกซิเจนให้แก่ผู้ป่วย ระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกพบภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะ ทำให้ผู้ป่วยรายนี้มีความจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต เมื่อหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้นผู้ป่วยตื่นตัวไม่เต็มที่ หายใจเองได้ต้องมีการใส่ออกซิเจนต่ออีกประมาณ 2 ชั่วโมง เนื่องจากมีค่าออกซิเจนในเลือด 97% จึงทำให้ผู้ป่วยรายนี้ต้องทำการสังเกตอาการผิดปกติในห้องพักฟื้นนานกว่าผู้ป่วยรายที่ 1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31