ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตอนต้น กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลอาจสามารถ จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ธิสาชล ธันยาวราธร
  • อรอุมา แก้วเกิด
  • เจริญชัย หมื่นห่อ

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตอนต้น

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงภาคตัดขวาง (Cross- sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตอนต้น กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอาจสามารถ จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จำนวน 130 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 11 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเครียด แบบสอบถามปัจจัยการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ แบบสอบถามคุณภาพชีวิต มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .74, .70,.70 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลวิเคราะห์ด้วยความถี่ ร้อยละ ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตใช้สถิติ เพียร์สัน และ Multiple regression

     ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ส่งผลทางบวกต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตอนต้นสูงที่สุด ได้ ทำนายคุณภาพชีวิตได้ได้ร้อยละ 45.2 (Adjusted R2= =.452, β = .458, t=6.415, p=.001) รองลงมาคือ ความเครียด ส่งผลทางลบต่อคุณภาพชีวิตของได้ ทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 37.9 (Adjusted R2= = -.379, β = -.385, t=-5.401, p=.001) หมายความว่าตัวแปรในสมการทำนาย ได้แก่ ความเครียด (X1) และ การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ (X2) สามารถอธิบายได้ความสามารถในการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตอนต้น ร้อยละ 35.3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30