ผลการรักษานิ่วในท่อน้ำดีด้วยวิธีการส่องกล้องผ่านทางเดินอาหารและท่อน้ำดี ในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พีรดล พรมใต้

คำสำคัญ:

นิ่วในท่อทางเดินน้ำดี, การส่องกล้องท่อทางเดินน้ำดี, ผลการรักษา, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เพื่อศึกษาถึงอัตราความสำเร็จ และการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในการรักษานิ่วในท่อน้ำดีด้วยวิธีการส่องกล้องในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นนิ่วในท่อทางเดินน้ำดี และได้รับการรักษาด้วยวิธีส่องกล้องในท่อทางเดินน้ำดี

     ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยทั้งสิ้น 146 ราย อายุเฉลี่ย 63.9 ปี เข้ารับการรักษาทั้งสิ้น 181 ครั้ง จำแนกเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน 64 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.84 ผู้ป่วยนัดผ่าตัด 82 ราย ร้อยละ 56.16 โดยรักษาสำเร็จ 86 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.90 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการรักษาคือ ขนาดของนิ่ว พบว่ากลุ่มที่รักษาสำเร็จนั้น มีขนาดนิ่วเล็กกว่ากลุ่มที่รักษาไม่สำเร็จ รวมถึงลักษณะของนิ่วในกลุ่ม Muddy stone  พบอัตราความสำเร็จมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.67 เมื่อประเมินอัตราความสำเร็จในการรักษาแต่ละวิธีจากจำนวนผู้เข้าร่วม พบว่าการทำหัตการด้วยวิธี CRE + Ballon extraction มีมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 86.67 ภาวะแทรกซ้อนของการส่องกล้องทางเดินน้ำดี พบอัตราการเกิดตับอ่อนอักเสบ และติดเชื้อในท่อทางเดินน้ำดีมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30