การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอนุรักษพลังงานไฟฟ้า กรณีศึกษาโรงพยาบาลสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ภูริต นุชเอี่ยมปภา

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การอนุรักษพลังงานไฟฟ้า

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นที่มีต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าในอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน เพื่อศึกษาช่องทางการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ศึกษาระดับความรู้และพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังไฟฟ้า เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความรู้และพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงาน จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสิงห์บุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข พนักงานราชการ และข้าราชการ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสิงห์บุรี จำนวน 281 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และสถิติ Pearson correlation

     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 85.8) อายุระหว่าง 41 – 50 ปี (ร้อยละ 36.7) ระดับการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 65.1) ตำแหน่งในการทำงาน เป็นข้าราชการ (ร้อยละ 69.8) และมีรายได้ 50,000 บาท ขึ้นไป (ร้อยละ 21.0) ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 20 ปี ขึ้นไป (ร้อยละ 48.4) หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ คือ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล (ร้อยละ 52.3) ภาพรวมตามประเภทการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าสำนักงาน พบว่า อุปกรณ์สำนักงานใช้ร่วมกันที่ใช้มากที่สุดคือ ตู้เย็น คิดเป็นร้อยละ 85.4 อุปกรณ์สำนักงานใช้ส่วนตัวที่ใช้มากที่สุดคือ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คิดเป็นร้อยละ 13.9 และอุปกรณ์ที่นำมาใช้งานในอาคารมากที่สุดคือ อุปกรณ์ชาร์ตมือถือคิดเป็น ร้อยละ 21.4  ในส่วนของลักษณะการเปิดใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าสำนักงาน พบว่าอุปกรณ์ที่มีการเปิดใช้งานแล้วปิดตอนพักสูงสุดคือ คอมพิวเตอร์ แบบตั้งโต๊ะ คิดเป็นร้อยละ 64.1 อุปกรณ์ ที่มีการใช้งานโดยไม่ปิดตอนพักสูงสุดคือ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและเครื่องพิมพ์ คิดเป็นร้อยละ 14.9 เท่ากัน และอุปกรณ์ที่มีการใช้งาน 24 ชั่วโมงสูงที่สุดคือ ตู้เย็นคิดเป็นร้อยละ 81.1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในระดับปานกลาง (ร้อยละ 66.9) และพฤติกรรม การประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง (ร้อยละ 72.24)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30