ผลของการใช้แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้ม หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • เสาวภาคย์ สุขเกษม -

คำสำคัญ:

การพลัดตกหกล้ม, แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้ป่วยมะเร็ง

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มและความพึงพอใจของผู้ใช้แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้ม หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จำนวน 22 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งทุกชนิด จำนวน 60 คน คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้ม หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ (2) แบบประเมิน Falls Risk Assessment tool (2) แบบบันทึกการพลัดตกหกล้มรายเหตุการณ์ (3) แบบบันทึกอุบัติการณ์พลัดตกหกล้ม (4) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้ม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา

     ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองความเสี่ยงพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 43.33 หลังการกลุ่มทดลองความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มต่ำ ร้อยละ 73.3 ภายหลังการใช้แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ พบว่า ความเสี่ยงพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) การสังเกตการณ์การปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ พบว่า พยาบาลวิชาชีพดำเนินการจัดสิ่งแวดล้อมภายในหอผู้ป่วยให้ปลอดภัยโดยมีป้ายระวังพื้นลื่น, ติดแผ่นกันลื่นบริเวณทางลาด, มีกริ่งสัญญาณขอความช่วยเหลือในห้องน้ำ ร้อยละ 100.00 ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มและความพึงพอใจของผู้ใช้แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มอยู่ในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30