การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงผิดนัด

ผู้แต่ง

  • นฤมล สบายสุข -
  • ลำพรรณ แสนบิ้ง

คำสำคัญ:

ระบบดูแลผู้ป่วย, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, การผิดนัด

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผิดนัด และศึกษาประสิทธิผลระบบดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผิดนัดและความพึงพอใจต่อระบบดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผิดนัดที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผิดนัดและยินดีให้ความร่วมมือในการวิจัย จำนวน 80 คน กลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน จะได้รับการดูแลตามระบบการดูแลที่พัฒนาขึ้น กลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน ได้รับการตรวจรักษาและคำแนะนำตามสภาพผู้ป่วย เช่น การรับประทานยา การนัดหมายให้มาตรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง แบบบันทึกการรักษาพยาบาลและผลระดับความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติ t – test ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษาพบว่า

  1. ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผิดนัด ประกอบด้วย การติดตามผู้ป่วยให้มาตรวจตามนัดทางโทรศัพท์และ line application ผ่านทางญาติผู้ป่วยร่วมกับการให้ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยพยาบาลที่รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการติดตามเยี่ยมบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อวิเคราะห์สาเหตุการผิดนัด
  2. ประสิทธิผลระบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผิดนัด พบว่า ภายหลังการทดลองผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งและความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่าก่อนการทดลอง (p < .05) ระดับความดันโลหิตชนิด Systolic และ Diastolic ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่ากลุ่มควบคุม (p < .05) ระดับความดันโลหิตชนิด Systolic และ Diastolic ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม (p < .05) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความพึงพอใจของต่อการรับบริการรักษาพยาบาลระดับมาก ร้อยละ 80.0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30