การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดพัทลุง
คำสำคัญ:
การดูแลผู้สูงอายุ, แกนนำครอบครัวและชุมชน, ศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมที่เหมาะสมและจัดการความรู้และศึกษาศักยภาพในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของแกนนำครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม หลังได้รับการดำเนินการกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) การพัฒนาตามรูปแบบเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคคลในครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุของครัวเรือนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ ได้จำนวน 346 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที พบว่า
รูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุ องค์ประกอบการดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุ คือ 1) การดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุโดยผู้สูงอายุเอง 2) การดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุโดยครอบครัวและผู้ดูแลหรือครอบครัว 3) การดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุโดยหน่วยงานหรือองค์กรในชุมชน ส่วนกระบวนการ/กิจกรรม 1) การดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุด้านสุขภาพกายและจิตใจ 2) การดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุด้านอาหารและโภชนาการ 3) การดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุด้านการออกกำลังกาย 4) การดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม 5) ชุมชนมีนวัตกรรมที่เหมาะสม 6) การสื่อสารเทคโนโลยี 7) มิติด้านภูมิปัญญา ซึ่งได้มาผลการดำเนินการกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ดังนี้
(1) การรับรู้ภาวะสุขภาพและปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงอายุของแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน ก่อนได้รับการดำเนินการกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) การพัฒนาตามรูปแบบเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ แกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน มีการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ อยู่ในระดับ ค่อนข้างทำได้ (x̅ =5.09, SD. = 0.75) และหลังได้รับการพัฒนาตามรูปแบบเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ อยู่ในระดับค่อนข้างทำได้แน่นอน (x̅ = 8.85, SD. =0.62)
(2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุตามความคิดเห็นของแกนนำที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ก่อนและหลังได้รับการดำเนินการกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) พัฒนาตามรูปแบบเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ โดยรวม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (t = 22.15, p <.001) โดยพบว่า ทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001
(3) การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุของแกนนำ ก่อนและหลังได้รับการดำเนินการกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) พัฒนาตามรูปแบบเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ โดยรวม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (t = 22.15, p <.001) โดยพบว่า ทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001