การพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการ : CHATU MODEL โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อักษรภัค บัวศรี

คำสำคัญ:

ระบบการดูแล, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, บูรณาการ

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนา )Research and development) ดำเนินการวิจัยตามกรอบแนวคิดการแปลงความรู้สู่การปฏิบัติ (ACE Star Model) ประกอบด้วยการค้นหาความรู้ การสังเคราะห์งานวิจัย การแปลงสิ่งที่สังเคราะห์ลงสู่การปฏิบัติ การนำความรู้สู่การปฏิบัติจริงและการประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการ โดยทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างในโรงพยาลจตุรพักตรพิมาน ในระหว่างเดือน มกราคม - มิถุนายน 2562 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินแบบประเมินกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา

      ผลการวิจัย มีระบบดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1)การค้นหากลุ่มเป้าหมาย 2)แพทย์ที่ดูแลส่ง Consult ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ(Care Manager : CM), 3) CM ให้การดูแลตามแนวทางให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุแก่ญาติ หรือผู้ดูแล 4) ขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) และ 5) ส่งต่อเครือข่ายการดูแลต่อเนื่อง และได้แนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการ 9 ข้อ ได้แก่ การประเมินกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ประเมินผู้ดูแล ความรู้ผู้ป่วยและญาติ ความรู้ในการดูแลร่างกาย ทักษะการดูแลและการใช้อุปกรณ์ การจัดหาอุปกรณ์ การดูแลโดยสหวิชาชีพก่อนจำหน่าย การขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุระยะยาว ขึ้น Pop up ใน Hos Xp และการส่งต่อข้อมูลเครือข่ายการดูแลต่อเนื่อง ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 30 ราย ได้รับการดูแลตามแนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการ ได้รับการประเมินกิจวัตรประจำวันครบทุกคน ไม่มีการกลับมารักษาซ้ำใน 48 ชั่วโมง อัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน (Re-admitted) จำนวน 2 ราย จากการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและปอดติดเชื้อ ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจในการดูแลทุกคน หลังติดตามผลหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ผู้สูงอายุ 20 ราย มีอาการคงที่ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดีขึ้นทำให้เปลี่ยนกลุ่มจากติดบ้าน ติดเตียงไปเป็นติดสังคม จำนวน 5 ราย และผู้สูงอายุติดเตียงเสียชีวิต จำนวน 5 ราย จากการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทำให้พยาบาลผู้ปฏิบัติเกิดความสะดวก ง่ายต่อการปฏิบัติ ใช้เวลาน้อยในการดูแลจากเวลา 1 ชั่วโมง ลดเหลือ 30 นาที และลดอุบัติการณ์ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30