ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 54 คน คัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้าและสุ่มแบ่งกลุ่มโดยใช้แบบสุ่มสมบูรณ์เป็นกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 27 คน และกลุ่มทดลอง 27 คน โปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการดูแลที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบผสมผสานใช้เวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับการให้ความรู้และการทำกิจกรรมกลุ่มในสัปดาห์ที่ 1 และ 2 โทรศัพท์ติดตามในสัปดาห์ที่ 3, 5 และ 7 ส่วนในกลุ่มควบคุมได้รับการบริการตามปกติ ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมในสัปดาห์ที่ 9 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาไคสแควร์ และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัย ภายหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 9 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (P < .001) และเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)