ผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
โปรแกรมสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research design) ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเขาวง จำนวน 32 ราย เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติเชิงอนุมาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยค่าระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง (HbA1C) ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ด้วย (Dependent t-test)
ผลการศึกษาพบว่า 1) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและหลังรับโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาล เขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น ทั้ง 3 ด้าน มีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานอาหารมากที่สุด t = 7.407 ส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกายมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด t = -2.156 2) การเปรียบเทียบสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนรับโปรแกรมและหลังรับโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05