ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปรเมษฐ์ พรหมพินิจ Charoen Sin Hospital, Sakon Nakhon Province

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตด้านการใช้ยา, การบริบาลทางเภสัชกรรม, PROMPT-QoL, เบาหวาน

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลังการทดลอง (Quasi experimental design; One Group Pre-Test Post-Test Design) โดยไม่มีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อปัญหาการใช้ยา ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และผลลัพธ์ทางด้านคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยา ก่อนและหลังได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 70 คน ที่เข้ารับบริการ ณ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม 2565 ประเมินคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาโดยใช้แบบสอบถาม Patient-Related Outcome Measure of Pharmaceutical Therapy Quality of life (PROMT-QoL)

     ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบนัดครั้งที่ 4 กับนัดครั้งที่ 1 (ระยะเวลา 6 เดือน) พบว่า การบริบาลทางเภสัชกรรมส่งผลให้จำนวนปัญหาการใช้ยาเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.380) คะแนนคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาบางมิติดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ในมิติที่ 2 การได้รับข้อมูลยาและโรค (p-value < 0.05) ในมิติที่ 3 ความพึงพอใจต่อผลของการใช้ยา (p-value < 0.01) มิติที่ 5 ผลทางด้านจิตใจของการใช้ยา (p-value < 0.001) มิติที่ 6 ความสะดวกในการใช้ยา (p-value = 0.010) มิติที่ 9 คุณภาพชีวิตโดยรวมของการ ใช้ยา (p-value < 0.001) และคะแนนรวมคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาทั้งแบบสอบถาม (p-value < 0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30