ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนโรงพยาบาลอ่างทอง
คำสำคัญ:
แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, บุคลากรสายสนับสนุนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างคือ คือ บุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลอ่างทอง จำนวน 238 คน คำนวณจากสูตรของเครซซี่และมอร์แกน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เท่ากับ .93 และ .95 ตามลำดับ และตรวจสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 และ .98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนโรงพยาบาลอ่างทองภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.61, S.D.= 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านนโยบายและการบริหารงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดและมีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับมากอันดับ 1 (= 3.95, S.D.= 0.62) รองลงมาคือ ด้านความรับผิดชอบมีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับมากอันดับ 2 (= 3.91, S.D.= 0.55) ด้านความสำเร็จในงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับมากอันดับ 3 (= 3.84, S.D.= 0.61) และด้านเงินเดือนและสวัสดิการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (= 3.14, S.D.= 0.81) ผลการวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.00 โดยพบว่ามีเพียง 2 ปัจจัยได้แก่ อายุ และตำแหน่งงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถร่วมกันทำนายพยากรณ์ได้ร้อยละ 6.17