การพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด, การพยาบาลผู้ป่วยบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ อาการ การรักษา ภาวะแทรกซ้อนและการพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด กรณีศึกษา 2 ราย และเพื่อเสนอแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ศึกษาโดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดจำนวน 2 ราย และเข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
ผลการศึกษา พบว่า
กรณีศึกษารายที่1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ68 ปี อาการสำคัญ ไข้ ไอ ปวดแน่นท้องหายใจหอบเหนื่อย เป็น ก่อนมาโรงพยาบาล 2 วัน ประวัติโรคร่วม ประวัติโรคร่วม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประวัติการรับประทานยาต่อเนื่อง พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ขณะผู้ป่วยอยู่ในความดูแลผู้ป่วยผ่านพ้นปัญหาภาวะช็อกแต่ยังมีอาการหอบเหนื่อยได้รับการักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ ยาปฏิชีวนะและจัดการภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยปลอดภัยผ่านพ้นระยะวิกฤต ไม่มีภาวะแทรกซ้อน อาการดีขึ้นตามลำดับ แพทย์จำหน่ายโดยส่งต่อโรงพยาบาลชุมชน
กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยหญิง อายุ 74 ปี อาการสำคัญ เหนื่อยอ่อยเพลีย ทานอาหารไม่ได้ ปวดตามร่างกายเป็นก่อนมา โรงพยาบาล 7 วัน ประวัติโรคร่วม ความดันโลหิตสูง รับยาไม่ต่อเนื่อง ขณะผู้ป่วยอยู่ในความดูแลผู้ป่วยมีภาวะช็อก การหายใจล้มเหลว ร่วมกับมีความดันโลหิตต่ำ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะเลือดเป็นกรด และมีภาวะสารน้ำผิดปกติ ได้รับการักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาปฏิชีวนะและแก้ไขภาวะช็อก รวมทั้งการจัดการภาวะแทรกซ้อน ขณะรับการรักษาอาการผู้ป่วยทรุดลง ไม่ตอบสนองต่อการรักษา ระดับความรู้สึกตัวลดต่ำลง การทำงานของอวัยวะล้มเหลว ญาติมีความประสงค์ต้องการักษาแบบประคองประคอง