การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา:โครงการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมผิวทางจราจรแบบ Cape Seal

ผู้แต่ง

  • พศิน มีใจสืบ Faculty of Public health, Ramkhamhaeng University
  • มงคล รัชชะ
  • เสรีย์ ตู้ประกาย
  • โกวิท สุวรรณหงษ์

คำสำคัญ:

คาร์บอนฟุตพริ้นท์, ผิวทางจราจร, เคพซีล

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา โครงการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม ผิวการจราจรแบบ เคพซีลโดยอ้างอิงวิธีการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยใช้หลักการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment : LC แบบ B2B ) โดยทำการประเมินใน 2 ช่วงชีวิตผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ช่วงการได้มาซึ่งวัตถุดิบ และช่วงการผลิต ช่วงการได้มาซึ่งวัตถุดิบ มีการปลดปล่อยปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เท่ากับ 1.08 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ และ ช่วงของการผลิตมีการปลดปล่อยปริมาณคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ เท่ากับ 0.08 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ โดยกระบวนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ มีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คิดเป็น 92.85 เปอร์เซ็นต์ ลำดับที่ 2 กระบวนการผลิต ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คิดเป็น 7.15 เปอร์เซ็นต์ 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30