การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันร่วมกับภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วารุณี เข็มลา -

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน, การพยาบาลผู้ป่วย

บทคัดย่อ

     การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันร่วมกับภาวะแทรกซ้อน  โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันร่วมกับภาวะแทรกซ้อน  ศึกษาในผู้ป่วย 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันที่เข้ารับการรักษาที่แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

     ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 54 ปี  อาการสำคัญ นอนซึมไม่รู้สึกตัว มีแขนขาซีกซ้ายอ่อนแรง รับส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน การวินิจฉัยโรค Right MCA  infraction ประวัติโรคร่วม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ขณะรับการรักษา ผู้ป่วยGlasgow coma score( GCS) ลดลง ร่วมกับมีความดันโลหิตสูงมากขึ้น แขนและขาด้านซ้ายอ่อนแรงอ่อนแรงมากขึ้น Motor power ด้านซ้าย grade O ด้านขวา grade V ขณะรับการรักษาผู้ป่วยมีภาวะสมองบวม มีแผนการรักษาส่งปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมระบบประสาทและมีแผนการรักษาให้ผ่าตัดสมองร่วมกับการรักษาด้วยยา ผ่านพ้นภาวะวิกฤตมีปัญหาหย่าเครื่องช่วยหายใจไม่ได้ ได้รับการรักษาด้วยการเจาะคอและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยเตรียมจำหน่าย พบภาวะแทรกซ้อนขณะรับการรักษา ได้แก่ ปัญหาการกลืน แผลกดทับ ข้อติดแข็งเกร็ง หลังรับการรักษาภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้โดยส่งต่อโรงพยาบาลชุมชน

     กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยหญิง อายุ 56 ปี เข้ารับการรักษา ด้วยอาการ แขนและขาด้านซ้ายอ่อนแรง พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 3 ชั่วโมง  ประวัติโรคร่วม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด  แพทย์วินิจฉัยโรค Ischemic Stroke.  ผลการCT Scan: Chronic lacunar infraction at bilateral basal ganglia แผนการรักษาให้ยากลุ่ม Antiplatelet คือยา Plavix (75mg)1 tab OD,และ Atorvastatin 20mg 1 tab oral hs.ขณะดูแลผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อย ร่วมกับอ่อนแรงแขนและขาด้านซ้ายและปัญหาด้านการกลืนลำบาก ผู้ป่วยได้รับการปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อประเมินการกลืนและการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องอาการผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ รับประทานอาหารได้ไม่สำลักอาหาร สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30