การศึกษาปัญหาการใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลมผสมคอร์ติโคสเตียรอยด์ ในด้านมูลค่าการใช้ยาของโรงพยาบาลเทพรัตน์ นครราชสีมา
คำสำคัญ:
ยาสูดพ่นขยายหลอดลมผสมคอร์ติโคสเตียรอยด์, มูลค่ายา, ปัญหาการใช้ยาบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใดมูลค่าการใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลมผสมคอร์ติโคสเตียรอยด์ จึงมีมูลค่าสูงมากในแต่ละปีงบประมาณ และเภสัชกรจะมีบทบาทอย่างไรในการช่วยลดมูลค่าการใช้ยา รวบรวมข้อมูลการได้รับยาสูดพ่นขยายหลอดลมผสมคอร์ติโคสเตียรอยด์ ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราฃสีมา ทุกราย ย้อนหลัง 5 ปีงบประมาณ (1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2565) จำนวน 396, 438, 480, 507 และ 532 รายตามลำดับ นำมาเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วย ความถี่ในการเข้ารับบริการ ปริมาณยาและมูลค่ายา โดยใช้โปรแกรมย่อยที่เขียนคำสั่งเพิ่มเติมขึ้นเองด้วยภาษา Structured Query Language (SQL) ร่วมกับรายงานมาตรฐานบางส่วนของโปรแกรมระบบงานบริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล (HOSxP)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยนอกเข้ารับการรักษาด้วยค่าเฉลี่ยที่ 3.9 ครั้ง/คน/ปี รับยา 9.4 ขวด/คน/ปี หรือครั้งละ 2.4 ขวดผู้ป่วยนอกเข้ารับการรักษาซ้ำ(re-visit) ในเดือนเดียวกัน เฉลี่ย 67 คน/ปี 163 ครั้ง/ปี มูลค่ายา 195,080 บาท/ปี ผู้ป่วยนอกกลับบ้านแล้ว อาการไม่ดีขึ้น กำเริบหนักจนต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน(IPD) ในเดือนถัดไปเฉลี่ย 22 คน/ปี 52 ครั้ง/ปี มูลค่ายา 66,631/ปี ผู้ป่วยในจำหน่ายแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือกำเริบ เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอกในเดือนถัดไป เฉลี่ย 24 คน/ปี 51 ครั้ง/ปี มูลค่ายา 58,757 บาท/ปี