การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุหลากมิติต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนราธิวาส
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุหลาก, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุหลากมิติ ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดนราธิวาสและศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของของผู้สูงอายุในจังหวัดนราธิวาส คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 382 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนราธิวาส เกณฑ์การคัดเข้ากลุ่มเป็นผู้สูงอายุที่สมัครใจ เก็บข้อมูลจากแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) 26 ตัวชี้วัด และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ การแจกแจงความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนราธิวาส พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.8 มีอายุในช่วง60-64 ปี ร้อยละ 40.1 มีสถานภาพสมรส (อยู่ด้วยกัน ) ร้อยละ 76.7 มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 60.2 มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว1-2 คน ร้อยละ 51.6 และมีรายได้ต่อเดือนตํ่ากว่า 10,000 บาท ร้อยละ 36.4 ซึ่งคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาพรวม มีระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ในระดับที่ดี ซึ่งเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย 4.36 รองลงมา ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม มีค่าเฉลี่ย 4.30 และด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ย 3.85 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ ด้านร่างกาย มีค่าเฉลี่ย 3.53 ผลการทดสอบทางสถิติการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนราธิวาส พบว่าเพศ ระดับการศึกษา และจำนวนสมาชิกในครอบครัว ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ซึ่งพบว่ามีปัจจัยเรื่องอายุ สถานภาพ และรายได้ต่อเดือน มีความแตกต่างของคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนราธิวาส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05