การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยใช้กระบวนการภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • วิจิตร ใจดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, , การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, สตรีอายุ 30 - 59 ปี, กระบวนการภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยใช้กระบวนการภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีอายุ 30 - 59 ปี ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในปี 2566 ที่ยังไม่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยใช้กระบวนการภาคีเครือข่ายและแบบสอบถามการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pair t – test

     ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองสตรีอายุ 30 – 59 ปี ทำให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ผลประโยชน์และอุปสรรคที่จะได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและการรับรู้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ความพึงพอใจต่อการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30 – 59 ปีอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.16, SD.=0.54)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30