การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของงานติดตั้งโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ระบบสลักเกลียว

ผู้แต่ง

  • ประกายพล พันธ์วิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เสรีย์ ตู้ประกาย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วรานนท์ คงสง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชัยวัฒน์ ภู่วรกุลชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ธีรเดช สนองทวีพร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มงคล รัชชะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง Corresponding

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง, โครงสร้างเหล็กรูปพรรณระบบสลักเกลียว, มาตรการป้องกันอุบัติเหตุ

บทคัดย่อ

     การศึกษามาตรการการป้องกันอุบัติเหตุในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของการปฏิบัติงานติดตั้งโครงสร้างเหล็กรูปพรรณระบบสลักเกลียวเป็นรูปแบบงานวิจัยแบบผสม แบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุด้วยแบบวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานและประเมินความเสี่ยงในการติดตั้งโครงสร้างเหล็กรูปพรรณระบบสลักเกลียวและ เสนอแนวทางความปลอดภัยโดยการจัดทำแนวทางการตรวจสอบขั้นตอนการทำงานในการปฏิบัติงานติดตั้งโครงสร้างเหล็กรูปพรรณระบบสลักเกลียว ใช้แบบวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Job safety analysis) ในขั้นตอนการปฏิบัติงานติดตั้งโครงสร้างเหล็กรูปพรรณเป็นเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลและประเมินกิจกรรมการปฏิบัติงาน ซึ่งมีทั้งหมดอยู่ 7 กิจกรรมสำหรับงานติดตั้งโครงสร้างเหล็กรูปพรรณระบบสลักเกลียว รูปแบบงานวิจัยมีทั้งแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยทำการวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงของแต่ละกิจกรรมที่ปฏิบัติงาน ประเมินโดยวิศวกรผู้ควบคุมงาน ผู้เชี่ยวชาญ โฟร์แมนในสายงานโยธาหรือที่เกี่ยวข้อง  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ (จป.ว)  และพนักงานผู้มีประสบการณ์ในงานติดตั้งโครงสร้างเหล็กรูปพรรณระบบสลักเกลียว จำนวน 12 ท่านร่วมทำการประเมิน จากกการศึกษาพบว่ามีกิจกรรมที่มีระดับความเสี่ยงสูงคือกิจกรรมติดตั้งโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณ มีคะแนนความเสี่ยงสูงสุดที่ 9.75 คะแนน และกิจกรรมติดตั้งโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณ คะแนนความเสี่ยง 8.47 คะแนน การวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงทั้ง 2 กิจกรรมนั้นมีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานติดตั้งโครงสร้างเหล็กรูปพรรณระบบสลักเกลียวในสนาม และได้จัดทำแนวทางการตรวจสอบมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานติดตั้งโครงสร้างเหล็กรูปพรรณระบบสลักเกลียว เพื่อนำไปปรับปรุงการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ให้มีความปลอดภัยและสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ

References

ชวนะ กฤตพิทยบูรณ์ . ศึกษามาตรการป้องกันอุบัติในการยกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขอบเขตของการวิจัยเป็นโครงการเสริมฐานรากและอุโบสถวัดมะเกลือ. สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง/กรุงเทพฯ; 2564.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. คู่มือพัฒนาทีมปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยด้านงานก่อสร้าง)ได้กำหนดแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ โดยการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment); 2560.

จตุรส ต้อนรับ การจัดการความปลอดภัยปลอดภัยในการก่อสร้างอาคารโรงงานอุตสาหกรรม. สาขาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยสยาม; 2560.

บุญชัย สอนพรหม การศึกษาทัศนคติของคนงานก่อสร้างต่อสาเหตุการเกิดอุบัติในอุตสาหกรรมก่อสร้าง. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2555.

ภูษิต เกียรติคุณ พฤติกรรมด้านความปลอดภัยของคนงาน ก่อนและหลังมีการเสริมกิจกรรม 5 ส.และอบรมความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบการ. มหาวิทยาลัยมหิดล: กรุงเทพมหานคร; 2535

แก้วฤทัย แก้วชัยเทียม. การรับรู้การจัดการความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.กรุงเทพมหานคร; 2548.

สุดารัตน์ วิชัยรัมย์ ศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตจากการปฏิบัติงานของคนงานก่อสร้าง. สาขาการจัดการทางวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2552.

กฎกระทรวงที่มีกำหนดมาตรฐานการทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย จากการตกลงไปในภาชนะหรือที่รองรับวัสดุ; 2564.

การป้องกันอันตรายในการทำงานบนที่สูง. สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) สสปท; 2563.

คู่มือการก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย; 2558.

มาตรฐานคุณลักษณะเฉพาะของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ที่ใช้ในงานโครงสร้างอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

พันธ์วิเศษ ป., ตู้ประกาย เ. ., คงสง ว. ., ภู่วรกุลชัย ช. ., สนองทวีพร ธ., & รัชชะ ม. (2023). การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของงานติดตั้งโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ระบบสลักเกลียว. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 20–28. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/267942