การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษา กระบวนการผลิตน้ำมันจากเทคโนโลยีไพโรไลซิส

ผู้แต่ง

  • ฐิติพงศ์ ฐาปนะดิลก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เสรีย์ ตู้ประกาย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชัยวัฒน์ ภู่วรกุลชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ธีรเดช สนองทวีพร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มงคล รัชชะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง Corresponding

คำสำคัญ:

คาร์บอนฟุตพริ้นท์, ไพโรไลซิส, ก๊าซเรือนกระจก

บทคัดย่อ

     การศึกษาการประเมินปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์น้ำมันจากกระบวนการเทคโนโลยีไพโรไลซิสในครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และศึกษาปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการแปรรูปพลาสติกออกมาเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ทำการศึกษาจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชนด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส ในพื้นที่เทศบาลจังหวัดอุดรธานี โดยนำข้อมูลตามบัญชีรายการและแผนผังการไหลของกระบวนการแปรรูปพลาสติกออกมาเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงจากการใช้เทคโนโลยีไพโรไลซิส มาคำนวณสัดส่วนปริมาณสารขาเข้าต่อปริมาณสารขาออกในแต่ละกระบวนการแปรรูป ที่ 1 กิโลกรัม เพื่อวิเคราะห์การใช้พลังงานปริมาณการใช้ทรัพยากรด้านพลังงานต่อการแปรรูปพลาสติกออกมาเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงจากการใช้เทคโนโลยีไพโรไลซิส ซึ่งทำการนำข้อมูลมาประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่าผลรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการแปรรูปพลาสติกออกมาเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง 1 กิโลกรัม มีค่าเท่ากับ 0.7051 kgCO2eq โดยที่กระบวนการกลั่นน้ำมัน มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 0.2765 kgCO2eq รองลงมาเป็น กระบวนการไพโรไลซิส 0.1382 kgCO2eq กระบวนการหั่นพลาสติก 0.1372 kgCO2eq กระบวนการเผาอากาศ 0.0770 kgCO2eq กระบวนการทำความเย็น 0.0301 kgCO2eq กระบวนการเป่าลมร้อน 0.0276 kgCO2eq กระบวนการบำบัดอากาศแบบเปียก 0.0087 kgCO2eq กระบวนการอบแห้งพลาสติก 0.0068 kgCO2eq และกระบวนการลำเลียงพลาสติก 0.0032 kgCO2eqq ตามลำดับ ผลของการประเมินปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการ หรือมาตรการการตรวจสอบควบคุม เพื่อนำไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโครงการได้

References

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2565). แนวทางการประเมินคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ขององค์กรโครงการส่งเสริมการจัดทาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2565).รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ศิริวรรณ บุญวิบูลวัฒน์. (2556).การประเมินคาร์บอนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของน้ำมันเชื้อเพลิงจาก กระบวนการไพโรไลซิสขยะพลาสติก. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การจัดการทางวิศวกรรม) กรุงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (2561). แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ฐาปนะดิลก ฐ., ตู้ประกาย เ., ภู่วรกุลชัย ช., สนองทวีพร ธ., & รัชชะ ม. (2023). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษา กระบวนการผลิตน้ำมันจากเทคโนโลยีไพโรไลซิส. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 38–45. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/267962