ประสิทธิภาพในการบำบัดโลหะหนักของระบบบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อนุรักษ์ ปิ่นทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ทศพร ภูวันผา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

น้ำเสีย, น้ำทิ้ง, โลหะหนัก, ระบบบำบัดน้ำเสีย

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในน้ำเสียและน้ำทิ้งของระบบบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เปรียบเทียบปริมาณโลหะหนักในน้ำทิ้งกับค่ามาตรฐานและศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียในการบำบัดโลหะหนัก โดยใช้เทคนิค Atomic Absorption Spectrophotometry (AAS) ตามวิธีของ Standard Methods for The Examination of Water and Wastewater ซึ่งทำการเก็บตัวอย่างในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน พ.ศ. 2563

     ผลการศึกษา พบว่า โครเมียม ตะกั่ว สังกะสีและปรอท ในน้ำเสีย เท่ากับ 0.033, 0.086, 0.383 และ 0.000168 mg/l ตามลำดับ และในน้ำทิ้ง เท่ากับ 0.063, 0.120, 0.278 และ 0.000004 mg/l ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโลหะหนักในน้ำทิ้งกับค่ามาตรฐาน พบว่า โครเมียม ตะกั่ว สังกะสีและปรอท มีค่าไม่เกินมาตรฐาน การเปรียบเทียบปริมาณโลหะหนักในน้ำเสียและน้ำทิ้ง โดยใช้สถิติ Pair Sample T-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า โครเมียม ตะกั่ว สังกะสีและปรอท มีค่า p-value < 0.05 ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลนามนมีประสิทธิภาพในการบำบัดสังกะสีและปรอท เท่ากับ 27.41% และ 97.61% ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ คือ ดูแลและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและเปลี่ยนดินและพืชในหน่วยบำบัดของระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันการสะสมของโลหะหนักในดิน

References

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. อนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน สำหรับพนักงงานสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติการสาธารณาสุข พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

ฝ่ายคุณภาพสิ่งแวดล้อมและห้องปฏิบัติการ. คู่มือความรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียแบบ AS สำหรับอาคาร. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; 2559.

กองบริการสาธารณสุข. คู่มือการควบคุมและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาล. สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด; 2564.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. คู่มือมาตรฐานการสุขาภิบาลและความปลอดภัยในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ: 2557.

Somwang Danchaivijitr, Wichai Wongchanapai, Susan Assanasen and Duangporn Jintanothaitavorn. Microbial and Heavy Metal Contamination of Treated Hospital Wastewater in Thailand. Journal of the Medical Association of Thailand. January 2005; 88(10):59 - 64.

พิบูลย์ เกิดโภคทรัพย์, ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์, เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย, สุพจน์ พัฒนะศรี พิชญ รัชฎาวงส์, วรรณดารา อิทนทรปัญญา และจันทรวรรณ ตันเจริญ. การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำทิ้งภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551; 31:283 - 94.

สำนักจัดการคุณภาพน้ำ. ระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม; 2560.

American public Health Association. Standard Methods for the Examination of water and Wastewater. 23rd Edition. American Public Health Association; 2017.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. ตำราระบบบำบัดมลพิษน้ำ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กรมโรงงานอุตสาหกรรม; 2554.

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2559 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 129 ง วันที่ 29 มีนาคม 2559

Evens Emmanuel, Khalil Hanna, Christine Bazin, Gérard Keck, Bernard Clément and Yves Perrodin. Fate of glutaraldehyde in hospital wastewater and combined effects of glutaraldehyde and surfactants on aquatic organisms. Environment International. 2005; 31(3):399 - 406.

Beril Salman Akin. Contaminant Properties of Hospital Clinical Laboratory Wastewater: A Physiochemical and Microbiological Assessment. Journal of Environmental Protection. 2016; 7(5):635 - 642.

กรมอนามัย. มลพิษทางน้ำและผลกระทบต่อสุขภาพ. นนทบุรี: กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

อนุรักษ์ ปิ่นทอง และดาราวัลย์ วิลัย. ปริมาณโลหะหนักในน้ำเสียและน้ำทิ้งของระบบบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. Journal of Thonburi University (Science and Technology). 2020; 4(2):45 – 51.

อรรคพล ภูผาจิตต์. แนวทางการนำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ โรงพยาบาลคำม่วง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2561; 3(2): 46 – 54.

เบญจวรรณ นิลวงค์ และกรรณิการ์ แก้วกิ้ม. การกำจัดโลหะหนักจากน้ำเสียด้วยระบบบึงประดิษฐ์และตัวดูดซับทางชีวภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 2559; 2(2):52 - 61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30