การพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน ตามแนวทางการคัดกรอง Emergency Severity Index (ESI) โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พรรณทิพย์ วรรณขาว Mr.
  • นฤมล ภูสนิท
  • สว่างศิลป์ ภูหนองโอง

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน, การคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน ESI

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพและเจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน จำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 – 30 มิถุนายน 2564 โดยใช้แนวทางการคัดกรอง Emergency Severity Index (ESI) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรู้และทักษะการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน แบบประเมินคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน และแบบประเมินความพึงพอใจรูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ pared t-test

     ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการพัฒนาดังนี้ พบ ผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency & Urgent) รอตรวจ ได้รับการคัดกรองช้า ร้อยละ 79.00 รองลงมาเป็น ผู้ป่วย MI รอตรวจ ร้อยละ 9.00 และ ผู้ป่วยวิกฤตได้รับการคัดกรองช้า ร้อยละ 5.00 ตามลำดับ กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย 7 มาตรการสำคัญ ดังนี้ มาตรการที่ 1 มีการประชุมทีมสหวิชาชีพ มาตรการที่ 2 ศึกษาเกณฑ์การคัดกรองและจัดระดับความรุนแรงการเจ็บป่วย มาตรการที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโรคกลุ่มอาการของผู้ป่วยฉุกเฉินที่มารับบริการ มาตรการที่ 4 ปรับปรุงแนวทางการคัดกรอง Emergency Severity Index (ESI) ให้มีเกณฑ์การคัดกรองชัดเจนครอบคลุมมากขึ้น  มาตรการที่ 5 ประชุมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ (ESI) ที่ปรับปรุงใหม่ มาตรการที่ 6พัฒนาความรู้และทักษะบุคลากรในการคัดกรองผู้ป่วย มาตรการที่ 7 การประเมินผลและทบทวนความเหมาะสมการของใช้แนวทางการคัดกรอง ติดตามประชุมติดตามทุก 3 เดือน ผลจากการพัฒนารูปแบบพบว่าอัตราการคัดกรองจัดระดับความรุนแรงการเจ็บป่วยได้ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 96.80 Over triage ร้อยละ 1.74 Under Triage ร้อยละ 1.46 การอบรมพัฒนาความรู้เจ้าหน้าที่ พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมมีค่า 6.67 คะแนน (SD 1.23 คะแนน) คะแนนเฉลี่ยหลังการอบรม มีค่า  8.22  คะแนน (SD 0.94 คะแนน) ทดสอบด้วยสถิติ paired t-test พบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะการคัดแยกประเภทผู้ป่วยหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 9.36) ความถูกต้องของความรุนแรงและเร่งด่วน ระดับ Less-Urgent เพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 96.00 รองลงมาระดับ Urgent ร้อยละ 94.00 และ ระดับ Resuscitation ร้อยละ 90 ตามลำดับ ผลการประเมินความพึงพอใจ เฉลี่ยก่อนพัฒนามีค่า 50.61 คะแนน (SD 5.53 คะแนน) คะแนนความพึงพอใจภายหลังการอบรม มีค่า  56.00  คะแนน (SD 5.96 คะแนน) ทดสอบด้วยสถิติ paired t-test พบว่า คะแนนความพึงพอใจภายหลังการพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 5.73) 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30