กรณีศึกษา: บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

ผู้แต่ง

  • อุทัยวรรณ จิระชีวะนันท์ -

คำสำคัญ:

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่, บทบาทของพยาบาล, การเตรียมเพื่อส่องกล้องลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

     การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เป็นหัตถการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรอง ตรวจประเมินพยาธิสภาพ และประเมินความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ เนื่องจากสามารถมองเห็นทุกส่วนของลำไส้ใหญ่ นอกจากการส่องเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคแล้ว ยังสามารถใช้ติดตามการรักษาหลังการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ ตรวจดูการอักเสบของลำไส้ แผลที่เกิดในลำไส้ หรือการลุกลามของโรคอื่นๆ ที่เกิดในลำไส้ การเตรียมตัวเพื่อส่องตรวจลำไส้มีความสำคัญเป้าหมายในการเตรียมเพื่อให้การส่องตรวจเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำมองเห็นพยาธิสภาพได้อย่างชัดเจน ไม่เกิดการบาดเจ็บจากการใช้อุปกรณ์ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการส่องตรวจ ใช้เวลาน้อย ลดโอกาสเกิดการทะลุของลำไส้ใหญ่จากการเป่าลมหรือใส่ก๊าซคาร์บอน(CO2)

     พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการเตรียมผู้ป่วย ตั้งแต่การคัดกรองความเสี่ยง การแก้ไขปัญหาผู้ป่วยก่อนนัดส่องกล้อง การให้ความรู้ การเตรียมลำไส้เพื่อให้ง่ายต่อการส่องกล้อง การติดตาม และประเมินผลเพื่อหาทางป้องกัน หาแนวทางแก้ไข เพื่อให้การส่องกล้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยปลอดภัยและได้รับประโยชน์สูงสุด ผู้ศึกษาจึงได้นำเสนอกรณีศึกษา 2 กรณีศึกษาในการดูแลและให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ที่มารับบริการที่แผนกงานศูนย์ห้องส่องกล้อง โรงพยาบากาฬสินธุ์ การเตรียมตัวก่อนมา การเตรียมลำไส้ วิธีการส่องกล้อง การตรวจเยี่ยม และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยใช้โดยใช้กรอบแนวคิดแบบประเมินสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน7 (Gordon, 1994) มาใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพ และใช้ทฤษฎีการพยาบาลตามกรอบแนวคิดของโอเร็ม8 (Orem, 2001) มาประยุกต์ใช้ในการผู้แลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยที่มารับบริการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาล ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจ และลดข้อร้องเรียน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30