การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา:การทำบ่อพักสายไฟฟ้าใต้ดินงานดันท่อลอด
คำสำคัญ:
คาร์บอนฟุตพริ้นท์, ก๊าซเรือนกระจก, เศรษฐกิจหมุนเวียน, ดันท่อลอดบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา การทำบ่อพักสายไฟฟ้าใต้ดินงานดันท่อลอด Pipe Jacking โดยใช้หลักการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ การศึกษาผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการการก่อสร้างบ่อพักไฟฟ้าท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินและร้อยสายเคเบิลไฟฟ้าทั้งระบบเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร โดยใช้วิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) ตามรูปแบบ Business to Business (B2B) ผลการศึกษาพบว่า การทำบ่อพักสายไฟฟ้าใต้ดินงานดันท่อลอด Pipe Jacking มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมเท่ากับ 2,761,673.56 kgCO2e/km โดยแบ่งงานเป็นการทำงานเป็นสามกิจกรรมหลัก ในการประเมินการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในขั้นตอนการทำงานดันท่อมีค่าสูงสุดเท่ากับ 1,412,814.5 kgCO2e/km ลำดับที่สองคือ งานวางสายไฟฟ้าใต้ดิน เท่ากับ 918,474.324 kgCO2e/km และลำดับที่สามคืองานติดตั้งบ่อพักเท่ากับ 430,384.737 kgCO2e/km โดยที่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคือกิจกรรมการดันท่อลอด คิดเป็นสัดส่วน เท่ากับ 51.15% เนื่องจากมีการใช้ซีเมนต์คอนกรีตจำนวนมากและการหล่อท่อคอนกรีต Pipe jack ที่มีการขนส่งที่มีระยะทางไกลถึง 50 กิโลเมตรจากที่โรงหล่อจังหวัดปทุมธานี
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (กพ.2563).คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โครงการสายไฟฟ้าลงดิน. [อินเตอร์เน็ต] 2566 [สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงจากhttps://www.greennetworkthailand.com/mea-underground-cable-system/
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (พิมพ์ครั้งที่7,ธันวาคม, 2563),กรุงเทพ:บริษัทอัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์. [อินเตอร์เน็ต] 2566 [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566]. เข้าถึงจากhttps://www.bsigroup.com
เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล,ณัฐนี วรยศ และ นเรศ วงศ์ใหญ่ (2554) ขั้นตอนการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ตามหลัก ISO14040
พรพิมล สุดจันทึก (2563) ศึกษาเรื่องการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของงานโครงการสร้าง ทางเชื่อมผืนป่าบนทางหลวงหมายเลข 304 วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรพิมล สุดจันทึก (2563) ศึกษาเรื่องการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของงานโครงการสร้าง ทางเชื่อมผืนป่าบนทางหลวงหมายเลข 304 วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.