โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นิทัศน์ ชินบุตร โรงพยาบาลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

โปรแกรม, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพนมไพร โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพนมไพร ที่ได้จากการคำนวณ จำนวน 59 คน เริ่มทำการทดลอง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2566 โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 3 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 และ เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลอง โดยใช้ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05. ผลการศึกษา หลังการทดลองใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพนมไพร กลุ่มตัวอย่างมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง 6.93 คะแนน (95%CI=6.45-7.40) ผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการสนับสนุนทางด้านจิตใจเพิ่มขึ้น 10.98 คะแนน (95%CI=10.06-11.90) ผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการสนับสนุนด้านการได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าเพิ่มขึ้น 11.32 คะแนน (95%CI=10.47-12.17) ผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการสนับสนุนด้านการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น 10.26 คะแนน (95%CI=9.45-11.05) ผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น 10.32 คะแนน (95%CI=9.38-11.26) ผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น 17.70 คะแนน (95%CI=16.82-18.56) ผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลง 1.81 คะแนน (95%CI=1.53-2.07) ผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนระดับน้ำตาลในเลือด ลดลง 14.87 คะแนน (95%CI=10.15-19.57) และผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ลดลง 1.03 คะแนน (95%CI=0.90-1.15) ต่อโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ของการทดลองมีความเหมาะสมขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

International Diabetes Federation. (2015). Diabetes Atlas. 7th Edition. Brussels: Belgium. From: http://www.diabetesatlas.org.

กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานสถานการณ์โรค NCDs: เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). การสำรวจข้อมูลร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ปีงบประมาณ 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข. จาก: https://hdcservice.moph.go.th.

ฐานข้อมูลใน Hos-xp โรงพยาบาลพนมไพร. (2565). ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยายาลพนมไพร ในช่วงปี 2563-2565. โรงพยายาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด.

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

Sornchamni, C., & Prakeechip, S. (2007). Chronic Disease Management Holistic High Cost Diseases. Nonthaburi: S. Phichit Printing.

จุฑามาศ เกษศิลป์ และคณะ. การจัดการดูแลตนเองความรู้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ก่อน-หลัง เข้าโปรแกรมจัดการการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารกองการพยาบาล ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2556.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). ช่องทางหนึ่งของการให้ความรู้ที่เหมาะกับสภาวการณ์ของสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.

Lemeshow, S. (1990). Adequacy of sample size in health studies. New York: J. Wiley for the World Health Organization.

วชิรา สุทธิธรรม, ยุวดี วิทยพันธ์ และสุรินธร กลัมพากร. (2559). ผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการ ดูแลตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลลานสกา. วารสารสภาการพยาบาล ปีที่ 31 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2559.

สงกรานต์ กลั่นด้วง. (2548). การประยุกต์ใช้ the take PRIDE program ในการกำกับตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พัฒนพร อุ่นวงศ์ และมยุรี บุญศักดิ์. (2566). ผลของการเข้าค่ายเบาหวานแบบค้างแรมโรงพยาบาลเขื่องในต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566.

โสภณ จันทะโคตร. (2566). ผลของการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยแดง ตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มีนาคม, 2023.

สุธิพร หรเพลิด, นิจฉรา ทูลธรรม และเสฐียรพงษ์ ศิวินา. (2562). การประยุกต์ใช้โปรแกรมพฤติกรรมการดูแลตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเขวาตะคลอง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 5 ฉบับที่ 02 เมษายน – มิถุนายน 2562.

ตวงรัตน์ อินทรแสน. (2564). ผลของการจัดการรายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จัักรีรัช ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2021): มกราคม - มิถุนายน 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ชินบุตร น. (2023). โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 29–37. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/268189