ผลลัพธ์ทางคลินิกของการให้ยาดีเฟอริโพรน (deferiprone) ในเด็กโรคธาลัสซีเมียที่มีภาวะธาตุเหล็กเกิน ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ภาวะธาตุเหล็กเกิน, ยาขับธาตุเหล็ก, ดีเฟอริโพรน, ธาลัสซีเมียบทคัดย่อ
โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (thalassemia) เป็นโรคพันธุกรรมทางโลหิตวิทยาซึ่งมีอุบัติการณ์สูงมากในประเทศไทย ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนได้แก่ภาวะธาตุเหล็กเกิน การรักษาด้วยยาขับธาตุเหล็ก ส่วนใหญ่รักษาด้วยยาดีเฟอริโพรน ( deferiprone) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับเฟอริตินในเลือด (serum ferritin) ก่อนและหลังได้รับยา deferiprone ในระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน ในเด็กโรคธาลัสซีเมียที่มีภาวะธาตุเหล็กเกิน โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียอายุ 2-15 ปี ที่มีภาวะธาตุเหล็กเกินและได้รับยา deferiprone เพื่อขับธาตุเหล็ก ซึ่งมารับการการตรวจที่แผนกกุมารเวชกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 – 31 ธันวาคม 2565 ทั้งหมดจำนวน 57 ราย วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน repeated measure ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value < 0.05 พยว่า ผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียที่มีภาวะธาตุเหล็กเกินและได้รับยาดีเฟอริโพรน (deferiprone) โดยการรับประทานเพื่อขับธาตุเหล็กมีจำนวนทั้งหมด 57 ราย ส่วนใหญ่เป็นธาลัสซีเมียชนิดเบต้า รับเลือดมากกว่า 10 ครั้งต่อปี เปอร์เซ็นต์ไทล์ของน้ำหนักและส่วนสูงก่อนได้รับยาดีเฟอริโพรน (deferiprone )ส่วนใหญ่อยู่ที่ช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์ 10 – 90 การศึกษาผลข้างเคียงหลังการได้รับยาดีเฟอริโพรน พบว่า มี transaninitis, Thrombocytopenia, Neutropenia, proteinuria , ปวดข้อ, ข้ออักเสบ, คลื่นไส้อาเจียน ค่าเฉลี่ยระดับ serum ferritin ลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและ ยาหลังได้รับยา deferriprone ยกเว้น ก่อนและหลังได้รับยา 3 เดือนและหลังได้รับยา 3 เดือนกับหลังได้รับยา 6 เดือน ค่าเฉลี่ยระดับ serum ferritin ลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังได้รับยา deferriprone 6 เดือน