การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของวัตสันในการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อนสูงอายุติดเตียง ที่มีโรคร่วมและโรคปอดอักเสบ : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ทฤษฎีของวัตสัน, ผู้ป่วยโรคเรื้อนสูงอายุ, โรคปอดอักเสบบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะราย (Case study) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ วัตสันในการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อนสูงอายุติดเตียงที่มีโรคร่วมและโรคปอดอักเสบ จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วย โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จากการสังเกต ตรวจร่างกาย สัมภาษณ์ผู้ป่วย เวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ พยาธิสภาพ อาการ อาการแสดง การรักษา และบันทึกการพยาบาล นำข้อมูลจากการศึกษามาวางแผนการให้การพยาบาล โดยประยุกต์ปัจจัยการดูแล 10 ประการ ลงสู่ปฏิบัติการพยาบาล เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยเพื่อให้เกิดกระบวนการฟื้นหายจากการเจ็บป่วย คงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อนสูงอายุมีความพิการ เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยมากกว่า 90 วันนอน และมีสาเหตุของการเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก มีอาการไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส ไอมีเสหะ หอบเหนื่อย ให้การดูแลเพื่อตอบสนองต่ออาการที่เปลี่ยนแปลงด้วยการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและออกซิเจนบำบัด เหมือนกัน มีความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 73 ปี มีโรคประจำตัวคือ ความดันโลหิตสูง ตับแข็ง โรคหลอดเลือดสมองอ่อนแรงซีกขวา นิ่วในไต และซึมเศร้า มีอาการ ไข้สูง 38.5 องศาเซลเซียส พบ ภาวะแทรกซ้อน คือ น้ำตาลในเลือดสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ติดเชื้อดื้อยา ได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน จนอาการดีขึ้น รวมระยะเวลาในการรักษาปอดอักเสบ 14 วัน กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวคือ ความดันโลหิตสูง ภาวะสมองเสื่อม พาร์กินสัน ซีด ลิ้นหัวใจตีบ มีอาการ ไข้สูง 38.1 องศา ไม่พบภาวะแทรกซ้อน ได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน จนอาการดีขึ้น รวมระยะเวลาในการรักษาปอดอักเสบ 7 วัน
References
อุ่นเรือน วรขจร, สุพรรณษา วรมาลี. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอักเสบ. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.
ฉวีวรรณ พึ่งพันธุ์. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2565; 7(1): 19-28.
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ข้อมูลโรคติดต่อ. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ddc.mop.go.th
วิภา วีชัยพิชิตกุล. การรักษาโรคปอดบวม. KKU Journal of Medicine 2556; 1(4): 17-29.
Perara T. Pulmonary emergencies in the elderly. In: Kahn J H, Magauran BG, Olshaker JS Geriatric emergency medicine: principles and practice. New York: Cambridge University Press. 2014; 185-97.
จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2556.
Smith MC, Parker ME, et al. Nursing Theories and Nursing Practice. 4th ed. Philadelphia: F.A. Davis; 2015. p. 321-356.
สายใจ พัวพัน. การดูแลความทุกข์ของผู้เจ็บป่วยด้วยจิตใจแห่งความเป็นมนุษย์:การประยุกต์ทฤษฎีการดูแลมนุษย์ของวัตสัน ตอนที่ 1. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 2558; 139-150.