ประเมินความเสี่ยงผลตรวจเป็นบวกแต่ผิดพลาดของการใช้ stool occult blood test ในการคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่ของคนไข้ใน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์
คำสำคัญ:
ความเสี่ยง, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินความเสี่ยงผลตรวจเป็นบวกแต่ผิดพลาดของการใช้ stool occult blood test ในการคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่ของคนไข้ใน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ คนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าตรวจ stool occult blood test positive ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จำนวน 120 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ในการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), ค่าต่ำสุด (Minimum), ค่าสูงสุด (Maximum) และสถิติเชิงอนุมานใช้สถิติ Chi-square test และ และ การหาขนาดของความสัมพันธ์ ใช้ค่าของ Odd Ratio, 95%CI กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงผลตรวจเป็นบวกในการคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่ของคนไข้ใน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ คนที่มีประวัติโรคเรื้อรังมีโอกาสเสี่ยงต่อผลเป็นบวก คิดเป็น 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีประวัติ (χ2= 5.917, OR = 2.815, 95%CI = 1.203 – 6.586, p-value = 0.015) คนที่มีประวัติความผิดปกติในทางเดินอาหารมีโอกาสเสี่ยงต่อผลเป็นบวก คิดเป็น 4 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีประวัติ (χ2= 10.804, OR = 3.941, 95%CI = 1.697 – 9.154, p-value = <0.001) คนที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ คิดเป็น 8 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีประวัติ (χ2= 424.150, OR = 7.882, 95%CI = 3.290 – 18.886, p-value < 0.001)
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ.2561-2565). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 สืบค้นจาก http://www.nci.go.th/th/File_download/D_index/แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ.pdf
สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. (2563). ข้อควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 สืบค้นจาก https://www.gastrothai.net/th/knowledge-detail.php?content_id=347
สำนักสารสนเทศ สำหนังานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). มะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ ไม่ไกลตัว. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 สืบค้นจาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/188105/
กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเบาหวาน.ค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. ค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม2562, เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports3.html/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11.
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. ค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2562, เข้าถึงได้ จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports3.html/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11
ฎลกร จำปาหวาย และ พงษ์เดช สารการ. (2563). คุณลักษณะและปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเข้มข้นของ f-Hb จากการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fecal Immunochemical Test. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(6), 1103-1112 สืบค้นจาก https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/9616/8589
มนตรี นาทประยุทธ์ (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง โรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์, 36(1), 219-216 สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/250531
ยามีหละ ใมหมาด, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และ สมเกียรติยศ วรเดช (2563) ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(3),1-21 สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/247425
Nebbia M, Yassin NA, Spinelli A. Colorectal Cancer in Inflammatory Bowel Disease. Clin Colon Rectal Surg. 2020;33(5):305-317. doi:10.1055/s-0040-1713748
Tuohy TM, Rowe KG, Mineau GP, Pimentel R, Burt RW, Samadder NJ. Risk of colorectal cancer and adenomas in the families of patients with adenomas: a population-based study in Utah. Cancer. 2014 Jan 1;120(1):35-42. doi: 10.1002/cncr.28227. Epub 2013 Oct 21. PMID: 24150925.
Lee SY, Shin A, Kim BC, et al. Association between family history of malignant neoplasm with colorectal adenomatous polyp in 40s aged relative person. Cancer Epidemiol. 2014;38(5):623-627. doi:10.1016/j.canep.2014.06.005