การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลโนนศิลา : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ทิทำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโนนศิลา

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาจำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า 

     ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาจำนวน 2 ราย เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โดยกรณีที่ 1 เป็นผู้ป่วยหญิง มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดสูง อาการสำคัญ แขนขาซีกซ้ายอ่อนแรง พูดไม่ชัด ก่อนมา  1 ชั่วโมง 20 นาที การวินิจฉัย Acute Stroke U/D DM, HT,DLP กรณีที่ 2 เป็นผู้ป่วยชาย ไม่มีโรคประจำตัวแต่มีภาวะเสี่ยงจากการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่มากกว่า 20 ปี อาการสำคัญ เวียนศีรษะ แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ก่อนมา รพ. 1 ชั่วโมง 40 นาที การวินิจฉัย Acute Stroke ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันเวลาและส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า โดยผ่านระบบช่องทางด่วน Stroke fast track เพื่อให้ได้รับการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองและได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA

References

กลุ่มงานสารสนเทศ โรงพยาบาลโนนศิลา.(2565).สถิติข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.งานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลโนนศิลา.

เขมจิรา มิตพะมา.(2558) .การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเซกา.รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาขอนแก่น.

นิภาพร บุตรสิงห์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารสภาการพยาบาล.2562;34:15-29

รัตนา เบ็ญชา.การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กรณีศึกษา บทความคลังวิชาการคลังปัญญาเชียงราย.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย 2565.

รัตนาภรณ์ ยนต์ตระกูลและคณะ .การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ภายใต้บริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งและเครือข่ายบริการ. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข 2560,27 (2) : 80 – 95.

วราภรณ์ สิงห์ศรี.(2566).การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม.รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาขอนแก่น.

สนองจิตร ไมตรี.(2556).การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลวารินชำราบ. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาขอนแก่น.

สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุลและคณะ. (2565).การศึกษาสถานการณ์บริการการแพทย์ฉุกเฉินและการทบทวนวรรณกรรมการพัฒนาคุณภาพปฏิบัติการฉุกเฉินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.กลุ่มงานวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาวิชาการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.).

สมศักดิ์ เทียมเก่า.(2563).แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองสำหรับทีมสุขภาพเขตบริการสุขภาพที่7.ขอนแก่น:โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.2563.

สมศักดิ์ เทียมเก่า.สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง.วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย.2564,77(4) :54 - 60

Kemmis S, McTaggart R (eds.). The action research planner. Victoria, Australia: Deakin University Press;1988.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ทิทำ อ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลโนนศิลา : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 90–97. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/268492