ผลการพัฒนาระบบ Modified Early Warning Scores (MEWS) เพื่อเฝ้าระวังและจัดการอาการผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • โศรดา ชุมนุ้ย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลร่องคำ

คำสำคัญ:

การประเมินระบบสัญญาณเตือนการเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS), การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาการใช้สัญญาณเตือนก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะวิกฤติ (MEWS) ในการเฝ้าระวังผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติและศึกษาผลของการใช้แบบประเมิน MEWS ในการประเมินและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยหอผู้ป่วยในต่อการส่งต่อโดยไม่ได้วางแผน การใส่ท่อช่วยวยหายใจและการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามคุณลักษณะของตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่รับนอนโรงพยาบาบาลและประเมิน MEWS ได้ค่าคะแนน ≥ 1 ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2565  ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2566 ทุกคน ใช้ผลงานเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 164 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (descriptive statistic) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการประเมินผลการใช้ระบบสัญญาณเตือน (Modified Early Warning Score: MEWS) ในการเฝ้าระวังผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต

     ผลการศึกษา: มีแนวทางการใช้สัญญาณเตือนก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะวิกฤต (MEWS) ในการเฝ้าระวังผู้ป่วย สื่อสารแนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วยให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประเมินเฝ้าระวังผู้ป่วยพบว่า พยาบาลมีการบันทึกบันทึกค่าองค์ประกอบทางสรีระตามระบบสัญญาณเตือนทั้ง 5 องค์ประกอบได้แก่ ความดันโลหิต อัตราการเต้นของ หัวใจ อัตราการหายใจ อุณหภูมิกายและ ออกซิเจนในร่างกายวัดที่ปลายนิ้ว ร้อยละ 100  รองลงมาคือระดับความรู้สึกตัว (Glasgow coma score) ร้อยละ 98.17 แต่ไม่พบบันทึกองค์ประกอบที่ 7 ด้านจำนวนปัสสาวะใน 4 ชั่วโมง (มิลลิลิตร) มากถึงร้อยละ 70.12 เป็นผลมาจากผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในกลุ่มโรคที่ต้องเฝ้าระวังการทำงานของไต มีการเฝ้าระวังค่าระดับคะแนน 1สูงสุดร้อยละ 49.39 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการพยาบาลตามเกณฑ์ระดับคะแนนที่กำหนด และได้รับการติดตามอาการภายหลังให้การพยาบาลร้อยละ 100  อาการดีขึ้นที่ระดับค่าคะแนน 1- 2 ร้อยละ 98.33 การส่งต่อสูงสุดที่ระดับคะแนน  4  ร้อยละ 25 มีการรอดชีวิตสูงสุดที่ระดับคะแนน1-2 ,4 และคะแนน ≥6 ร้อยละ 100 

References

Semico Miller. (2009).The Use of Modified Early Warning Scores by a Rapid Response Team For The Purpose of Code Reduction in the Non-ICU Patient Population. ANCC National Magnet Conference

Gardner -Thorpe J., et al. (2006). The Value of Modified Early Warning score (MEWS) in surgical In-patients: A prospective observational study. Ann R Coll Surg Engl, 88, 571–575

ปนิฏฐา นาคช่วย, ละมัยพร อินประสงค์, วารินทร์ ตันตระกูล, ปดิวรัดา ทองใบ, และพิไลวรรณ จันต๊ะนุ. (2560). MEWS: Adult Pre-Arrest Sign กับบทบาทพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 10(3), 186-190.

นิตยาภรณ์ จันทร์นคร, ทัศนีย์ แดขุนทด,อุไรวรรณ ศรีดามา,ปิยนุช บุญกอง.การพฒั นารูปแบบการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวกิฤต สำหรับผู้ป่วยหนัก วัยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลสกลนคร.วารสารกองการพยาบาล,ปีที่ 47 ฉบับที่ 1 มกราคม –เมษายน 2563,39-58

อุไรวรรณ แก้วเพชร. ประสิทธิผลการประยุกต์ใช้ระบบสัญญาณเตือน (modified early warning score: MEWS) ในการเฝ้าระวังผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 2562

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. ผลของการใช้แนวทางการ ประเมินผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตต่อการ ย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตโดยไม่ได้วางแผนและอัตราการ เสียชีวิตในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ปทุมธานี: โครงการวิจัย เพื่อพัฒนางานของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระ เกียรติ, สนับสนุนทุนวิจัยโดยโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ ปีงบประมาณ 2558; 2559

Outer North East London Community Service : Guideline for the Use of Modified Early Warning Score (MEWS); 2014

กรรณิกา ศิริแสน. ประสิทธิผลของการใช้ระบบ สัญญาณเตือนในการพยาบาลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ชุมนุ้ย โ. (2023). ผลการพัฒนาระบบ Modified Early Warning Scores (MEWS) เพื่อเฝ้าระวังและจัดการอาการผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 216–224. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/268662